Get to Know! ฝนมา อย่าโดนฝน!!! ถ้าไม่อยากป่วยด้วยอาการเหล่านี้

ฤดูฝนก้าวเข้ามาอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับประเทศไทย ท้องฟ้าบ้านเราเริ่มอึมครึม มีฝนตกเกือบทุกวัน หลายจังหวัดเจอพายุ มีน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก แต่หากวันไหนไม่มีฝน อากาศก็จะร้อน ถึงร้อนจัดทั้งที่มีแดด หรือไม่มีแดดก็ตาม

สำหรับคนที่รักความโรแมนติกของสายฝนที่ชุ่มฉ่ำ ฤดูกาลนี้ถือเป็นฤดูกาลที่คุณจะรู้สึกสดชื่น และมีความสุขที่สุด แต่สำหรับใครที่ต้องเดินทาง แล้วฝนชอบโปรยปรายลงมาในช่วงเช้า หรือช่วงค่ำ สายฝนก็จะสร้างความลำบากให้กับคุณเป็นอย่างมาก การจราจรที่โดยปกติก็ติดขัดอยู่แล้ว ยิ่งติดขัดหนักเข้าไปใหญ่ ใครที่ใช้บริการขนส่งมวลชน ไว้ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถประจำทาง วินมอร์เตอร์ไซค์ หรือแท็กซี่ ยิ่งทำให้ลำบาก เฉอะแฉะกันอย่างหนักในช่วงฝนตก

RAINING

อีกสิ่งที่มาพร้อมกับฤดูฝน ที่อาจไม่ได้สร้างควารำคาญ แต่อาจก่อให้เกิดความวิตกกังวลให้กับเรา นั่นคือ โรคภัยต่างๆ ที่มาพร้อมฤดูฝน ไม่ว่าจะเกิดจากการที่คุณต้องตากฝนจนเปียกมะลอกมะแลก โดนละอองฝน หรือแทบจะไม่ได้โดยฝนเลยก็ตาม แต่ในวัสสานฤดูนี้มีโรคภัยมากมายที่คุณควรรู้จัก และหาวิธีป้องกัน มาดูกันเลยค่ะ

รู้จักโรคภัยที่มาพร้อมฤดูฝน อาการ และวิธีป้องกัน

1. ไข้หวัดธรรมดา

1 COMMON COLD

ไข้หวัดธรรมดา หรือ Common Cold เป็นโรคหน้าฝนที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนต้น ที่ส่งผลกระทบต่อจมูกและคอ เป็นโรคที่สามารถพบได้ตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูฝน โรคไข้หวัดธรรมดามักเกิดเมื่ออุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น ตัวเปียกฝน หรืออากาศเปลี่ยน ซึ่งสามารถพบได้ทั้งปี มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสกว่า 200 ชนิด โรคไข้หวัดธรรมดาสามารถหายได้เองใน 3 – 4 วัน หากผู้ป่วยทำตัวให้อบอุ่น และดูแลตนเองอย่างถูกต้อง

อาการของไข้หวัดธรรมดา

  • คัดจมูก
  • น้ำมูกไหล และมีลักษณะใส
  • ไอ จาม และมีเสมหะ
  • เจ็บคอ
  • เสียงแหบ
  • อาจมีไข้ต่ำๆ และมีอาการปวดศีรษะเล็กน้อย

วิธีป้องกันไข้หวัดธรรมดา

  • ใส่หน้ากากอนามัย
  • ล้างมือให้สะอาด
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • เลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด

2. โรคไข้หวัดใหญ่

2 INFLUENZA

โรคไข้หวัดใหญ่ หรือ Influenza เกิดจากเชื้อ Influenza virus ซึ่งเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล สามารถจำแนกออกเป็น 3 ชนิด โดยสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยและมีอาการรุนแรง คือ ชนิด A และ B ส่วน สายพันธุ์ชนิด C มักไม่มีอาการรุนแรง อาการเริ่มต้นของไข้หวัดใหญ๋จะเหมือนไข้หวัด สามารถหายเป็นปกติได้ใน 1-2 สัปดาห์ แต่บางรายอาจมีความรุนแรงทำให้เกิดปอดอักเสบและเสียชีวิตได้

อาการของไข้หวัดใหญ่

  • มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส
  • มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก
  • ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และหนาวสั่น
  • เบื่ออาหาร ไม่อยากรับประทานอะไร
  • คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ และไอแห้ง
  • บางรายมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน

วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

  • ปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ หรือจาม
  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลทำความสะอาด
  • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้
  • เมื่อป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน หยุดกิจกรรมที่ต้องอยู่ในสถานที่แออัด
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ปีละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันและกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อน และลดอัตรการเสียชีวิต

3. โรคปอดอักเสบ หรือปอดบวม

3 PNEUMONIA

โรคปอดอักเสบ หรือ Pneumonia เป็นอีกโรคที่มักเกิดในฤดูฝน โรคปอดอักเสบเกิดจากการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง เกิดได้จากทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา ที่พบโดยส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus Pneumonia หรือเชื้อนิวโมคอคคัส โดยโรคปอดอักเสบนี้จะมักเป็นอาการต่อเนื่องมาจากไข้หวัดใหญ่

อาการของโรคปอดอักเสบ

  • มีไข้สูง ตัวร้อน หน้าแดง เหงื่อออก หนาวสั่น
  • ไอมีเสมหะ
  • เจ็บหน้าอก
  • หายใจเร็ว หายใจลำบาก หอบเหนื่อย
  • คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
  • อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัว ปวดตามข้อ
  • ผู้สูงอายุอาจมีอาการซึม รู้สึกสับสน และไม่มีไข้
  • ในทารกหรือเด็กเล็กอาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด อาเจียน ซึม ไม่ดูดนมหรือน้ำ บางรายอาจมีอาการชักจากไข้

วิธีป้องกันโรคปอดอักเสบ

  • อย่าตากฝน หรืออยู่ในที่ที่มีความชื้นเป็นเวลายาวนาน
  • ล้างมือให้สะอาด หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือที่มีความเข้มข้นไม่ต่ำกว่า 60%
  • สวมหน้ากากอนามัยอยู่ตลอดเวลา
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในชุมชนแออัด
  • ฉีดวัคซีนป้องกัน เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคปอดอักเสบ

4. อหิวาตกโรค

4 CHOLERA

อหิวาตกโรค หรือ Cholera เป็นโรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส การล้างมือไม่สะอาดแล้วหยิบอาหารที่มีการปนเปื้อนเข้าปาก ทำให้เกิดอาการท้องเสียฉับพลัน มักเกิดในชุมชนที่อยู่กันอย่างหนาแน่น และไม่มีน้ำสะอาดใช้อย่างพอเพียง ไม่มีห้องส้วมหรือห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะ หากเป็นร้านอาหาร อาจเกิดจากการปรุงอาหารที่ไม่สะอาด ไม่ถูกหลักอนามัย ส่งผลให้เกิดภาวะการถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้งติดต่อกัน หรือมากกว่าใน 1 วัน หรือถ่ายเป็นน้ำจำนวนมาก และอาจมีการอาเจียนร่วมด้วย

อาการของอหิวาตกโรค

  • มีอาการท้องร่วงติดต่อกัน
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีภาวะขาดน้ำ
  • บางรายอาจมีการถ่ายเป็นมูกเลือด
  • หากมีอาการรุนแรงอาจเกิดภาวะช็อกและเสียชีวิตได้

วิธีป้องกันอหิวาตกโรค

  • ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำ และก่อนรับประทานอาหาร
  • ดื่มน้ำต้มสุกและสะอาด
  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุก
  • หลีกเลี่ยงอาหารดิบ
  • รับประทานผลไม้ที่ล้างสะอาด และปอกเปลือกเอง
  • ระวังการบริโภคผลิตภัณฑ์เนยนมที่อาจมีการบูดเสีย

5. อาหารเป็นพิษ

5 FOOD POISONING

อาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) หรือลำไส้อักเสบติดเชื้อ (Acute Infectious Diarrhea) เกิดได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในฤดูฝน เนื่องจากอาหารสดที่เราซื้อมาจากตลาดอาจได้รับกเชื้ออีโคไลจากน้ำฝนที่มีการปนเปื้อน ซึ่งเชื้ออีโคไลนี้เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดอาการลำไส้อักเสบติดเชื้อ จึงทำให้เกิดความผิดปกติในระบบย่อยอาหารตามมา ทำให้เกิดอาการคลื้นไส้ อาเจียร และท้องเสีย ซึ่งอาการจะเกิดขึ้นเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักมีอาการไม่รุนแรง สามารถหายเองได้ภายใน 24-48 ชั่วโมง

อาการของอาหารเป็นพิษ

อาการที่แสดงออกมาหลักๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

อาการไม่รุนแรง :

  • รู้สึกพะอืดพะอม คลื่นไส้ อาเจียนติดต่อกันหลายครั้ง
  • มีอาการปวดท้องแบบบิดเกร็งเป็นพักๆ เนื่องจากการบีบตัวของลำไส้
  • ถ่ายท้อง ถ่ายมีมูกหรือเลือดปน
  • เบื่ออาหาร ไม่อยากอาหาร
  • รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ หมดเรี่ยวแรง ปากแห้ง กระหายน้ำบ่อย และปัสสาวะน้อย
  • มองเห็นไม่ชัด แขนเป็นเหน็บ หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง

อาการรุนแรง :

  • มีภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง กระหายน้ำอย่างมาก ปัสสาวะน้อยหรือไม่ปัสสาวะเลย ปัสสาวะมีสีเข้มหัวใจเต้นเร็ว  อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ และหน้ามืด
  • ผู้ใหญ่ท้องเสียติดต่อกัน 3 วัน หรือในเด็กอาจท้องเสียติดต่อกันตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่อาการไม่ดีขึ้นเลย
  • อาเจียนถี่หรืออาเจียนอย่างต่อเนื่องนานกว่า 12 ชั่วโมง
  • มีเลือดปนในอาเจียนหรืออุจจาระ
  • ตามัวหรือมองเห็นภาพไม่ชัด
  • ปวดท้องอย่างรุนแรง โดยที่อาการปวดท้องไม่ลดลงเลยหลังจากอุจจาระไปแล้ว
  • ท้องเสียร่วมกับมีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส

วิธีป้องกันอาการอาหารเป็นพิษ

  • ดื่มน้ำสะอาด หรือน้ำต้มสุก 
  • ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง     
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารค้างคืน โดยเฉพาะอาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ เพราะจะบูดเสียง่าย
  • ล้างผักผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทาน     
  • แยกอาหารดิบและอาหารสุกออกจากกัน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค หรือเชื้อแบคทีเรีย     
  • เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากแมลง หนู และสัตว์ชนิดอื่นๆ     
  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ หลีกเลี่ยงการปรุงโดยวิธีลวก หรือสุกๆ ดิบๆ  
  • หากสังเกตเห็นความผิดปกติในอาหารนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นสี กลิ่น รส และลักษณะของอาหารแตกต่างไปจากเดิม ไม่ควรรับประทานเด็ดขาด

6. โรคผิวหนังอักเสบ 

6 DERMATITIS

โรคผิวหนังอักเสบ หรือ Dermatitis เป็นอีกโรคหนึ่งที่มาพร้อมฤดูฝน เกิดจากการที่่น้ำฝนขังบนพื้นถนนเป็นเวลานานๆ จนเกิดเป็นน้ำเน่า ส่งกลิ่นเหม็น กลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค หากกระเซ็นมาโดนตัวเรา มีโอกาสเสี่ยงต่อผิวหนังอักเสบได้ ส่วนมากมักมีผื่นคัน บวม หรือแดงตามผิวหนัง นอกจากนี้ บางชนิดอาจเกิดเป็นแผลพุพอง มีน้ำหนอง หรือตกสะเก็ดร่วมด้วย

อาการของโรคผิวหนังอักเสบ

  • มีอาการคัน ถึงคันมาก
  • ผิวหนังมีลักษณะเป็นผื่นแดง และแห้งๆ ออกสีน้ำตาล 
  • มักเกิดในบริเวณอับชื้นซึ่งเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เช่น รักแร้ ขาหนีบ ฝ่าเท้า และซอกนิ้วเท้า 

วิธีป้องกันโรคผิวหนังอักเสบ

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำสกปรกโดยตรง หรือการแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ
  • ทำความสะอาดร่างกายและล้างมืออยู่เสมอและโดยทันทีที่สัมัสน้ำที่ไม่สะอาด
  • หลังการทำความสะอาด เช็ดมือ เท้า หรือผิวให้แห้ง
  • หากมีบาดแผลถลอกในบริเวณที่สัมผัสน้ำสกปรกควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อชะล้างหลังการสัมผัสทันที
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย

7. ไข้เลือดออก

7 DANGUE FEVER

โรคไข้เลือดออก หรือ Dengue Fever เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เชื้อโรคที่ฟักอยู่ในตัวยุงแพร่เข้าสู่ร่างกายมนุษญ์จากการที่โดนยุงกัด โรคไข้เลือดออกมักระบาดหนักในช่วงหน้าฝน ซึ่งแพร่กระจายได้มากกว่าฤดูอื่นๆ ถึง 3 เท่า อาการของโรคไข้เลือดออกแม้จะไม่รุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เสียชีวิตได้

อาการของไข้เลือดออก

  • มีไข้สูงแบบเฉียบพลัน และมีอาการไข้สูงตลอดทั้งวันต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 2-7 วัน
  • ปวดศีรษะ และปวดเมื่อยตามตัว ส่วนใหญ่มีอาการหน้าแดง
  • อาจมีจุดแดงเล็กๆ ขึ้นตามลำตัว แขน และขา
  • ไม่มีอาการไอ ไม่มีน้ำมูก
  • มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดท้องและเบื่ออาหาร

วิธีป้องกันไข้เลือดออก

  • เก็บกวาดบ้านให้ปลอดโปร่ง ไม่มีบริเวณอับทึบที่ยุงลายสามารถเกาะพัก
  • เก็บขยะ เศษภาชนะทุกชนิดบริเวณรอบบ้าน ทิ้งในถุงดำ มัดปิดปากถุงแล้วนำไปทิ้งในถังขยะ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งขังน้ำให้ยุงวางไข่เพาะพันธุ์ได้
  • ปิดฝาภาชนะที่ใส่น้ำกิน น้ำใช้ให้มิดชิด ล้างคว่ำภาชนะที่ไม่ใช้ และเปลี่ยนน้ำในภาชนะเล็กๆ เช่น ถ้วยรองขาตู้ หรือแจกันทุกสัปดาห์
  • ใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ หรือปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะที่ปิดฝาไม่ได้ เช่น อ่างเลี้ยงไม้น้ำ หรือบ่อเลี้ยงปลา เป็นต้น

8. โรคตาแดง

8 RED ETE

โรคตาแดง หรือ Conjunctivitis เป็นโรคหน้าฝนที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งอาจเกิดพร้อมกับโรคหวัดหรือการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายจากการสัมผัสกับเชื้อโรคโดยตรง เช่น สัมผัสกับขี้ตาหรือน้ำตาที่ติดอยู่บนมือหรือสิ่งของที่ผู้ป่วยสัมผัส จากการใช้สิ่งของร่วมกัน และจากการหายใจหรือไอจามรดกัน มักพบในกลุ่มเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กไม่ระมัดระวังในการป้องกันตัวเองจากเชื้อโรคเท่ากับผู้ใหญ่

อาการของโรคตาแดง

  • มีอาการตาแดง
  • มีอาการปวดเล็กน้อยในเบ้าตา
  • คันตา เคืองตา รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในดวงตา
  • น้ำตาไหลตลอด
  • เปลือกตาบวม อาจพบตุ่มเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป
  • ในกรณีที่ติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย จะมีขี้ตามากทำให้ลืมตายากในช่วงตื่นนอน

วิธีป้องกันโรคตาแดง

  • ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาด
  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดมือ เครื่องสำอาง แว่นตา
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำท่วมขังหรือน้ำสกปรก ระวังไม่ให้น้ำกระเด็นเข้าตา
  • ไม่ควรใช้มือขยี้ตา
  • ผู้ที่เป็นโรคตาแดง ควรงดการใช้ของสาธารณะ หรือไปในที่สาธารณะจนกว่าจะหาย
  • ไม่ควรใช้ยาหยอดตาร่วมกับผู้อื่น ควรล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังการหยอดยาเสมอ

9. โรคฉี่หนู

9 MOUSE

โรคฉี่หนู หรือ Leptospirosis เป็นโรคหน้าฝนที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยมีหนูหรือสัตว์ฟันแทะเป็นพาหะหลัก เชื้อถูกปล่อยออกมากับปัสสาวะที่ปนเปื้อนอยู่ตามน้ำ ดินที่เปียกชื้น เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังตามรอยแผล รอยขีดข่วน และเยื่อบุของปาก ตา จมูก ที่สำคัญคือเป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่มีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาการของโรคฉี่หนู

อาการของโรคฉี่หนู แบ่งออกเป็น 2 ระยะด้วยกัน ดังนี้

อาการระยะแรก :

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดศีรษะ มีไข้สูง และหนาวสั่น
  • ปวดกล้ามเนื้อ หรือปวดข้อต่อ
  • เจ็บช่องท้อง
  • รู้สึกอ่อนเพลีย และเหนื่อยล้า
  • ตาแดง หรือระคายเคืองที่ตา
  • มีผื่นขึ้นบนผิวหนัง
  • เบื่ออาหาร
  • ท้องเสีย

อาการระยะที่สอง :

  • มีภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ตาอักเสบ
  • หลอดเลือดอักเสบ
  • ปอดอักเสบ
  • กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
  • เลือดออกในเนื้อปอด
  • ตัวเหลือ งตาเหลือง หรือมีภาวะดีซ่าน
  • ไตวายเฉียบพลัน
  • ภาวะเลือดออกง่ายตามอวัยวะต่างๆ และอาจทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานล้มเหลวและเป็นอันตรายถึงชีวิตในที่สุด

วิธีป้องกันโรคฉี่หนู

  • หลีกเลี่ยงการเดินในที่น้ำขัง มีน้ำสกปรก
  • ล้างเท้าด้วยน้ำสบู่หลังสัมผัสน้ำสกปรก
  • ควรสวมรองเท้าบูตทุกครั้งที่ต้องลุยน้ำสกปรก
  • ควบคุมและกำจัดหนูตามบริเวณที่อยู่อาศัย สถานที่ทำงาน รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
  • ควรระบายน้ำตามท่อระบายออกแล้วล้างเพื่อกำจัดน้ำที่ปนเปื้อน
  • หากสงสัยว่ามีอาการของโรคฉี่หนู ควรพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาทันที
    •  

10. โรคมือ เท้า ปาก

10 HAND FOOT MOUTH DISEASE

โรคมือ เท้า ปาก หรือ Hand Foot and Mouth Disease เป็นโรคหน้าฝนที่พบบ่อยในเด็กเล็ก ติดต่อง่าย ไม่มีวัคซีนป้องกัน และมีโอกาสเป็นเพิ่มมากขึ้นในช่วงหน้าฝน สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) พบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี แต่สามารถเกิดกับเด็กโตและผู้ใหญ่ได้เช่นกัน โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นและหายป่วยภายในเวลาประมาณ 7-10 วัน ถือได้ว่าเป็นโรคที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่อยู่ไม่น้อย

อาการของโรคมือ เท้า ปาก

  • มีอาการเป็นไข้
  • เจ็บปาก
  • น้ำลายไหล
  • มีแผลที่กระพุ้งแก้มและเพดานปาก
  • มีผื่นเป็นจุดแดงหรือตุ่มน้ำใสที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า รอบก้นและอวัยวะเพศ
  • อาจมีผื่นตามลำตัว แขนและขาได้

วิธีป้องกันโรคมือ เท้า ปาก

  • แยกผู้ป่วยที่เป็นโรคไม่ให้ไปสัมผัสกับเด็กคนอื่น
  • ผู้ปกครองควรหมั่นล้างมือเด็กเพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อไปยังเด็กคนอื่น
  • หมั่นทำความสะอาดของเล่นและสภาพแวดล้อมทุกวัน
  • ดูแลความสะอาดของน้ำ อาหาร และสิ่งของที่เด็กอาจนำเข้าปาก
  • ไม่ควรไปเรียนจนกว่าจะหายดีเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
  • ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานที่ป่วยไปพบแพทย์ พร้อมแจ้งโรงเรียนและเด็กควรหยุดเรียนจนกว่าจะหาย
    •  

โรคภัยที่มากับฤดูฝนยังมีอีกมากมาย แต่ที่สำคัญ ฤดูที่ฝนพรำแบบนี้ ควรมีร่ม เสื้อกันฝน และไอเทมป้องกันตัวจากความเปียกแฉะของฝนไว้ติดตัวไปทุกที่จะเป็นการดีที่สุดค่ะ 

ไอเทมกันฝนสำคัญที่ควรมี

XIAOMI XIAOMI ร่มกันแดดกันฝน เปิด-ปิดอัตโนมัติ

ราคา 890 บาท พิเศษ 790 บาท (SAVE 11%)

SANDISANDI ร่มก้านยาว รุ่น F1055917 สีม่วงขอบครีมเบส

ราคา 238 บาท พิเศษ 158 บาท (SAVE 34%) 

MUJIMUJI เสื้อกันฝน รุ่น DED01A0S

ราคา 1,390 บาท 

PENNY SCALLAN DESIGNPENNY SCALLAN DESIGN เสื้อกันฝนเด็ก Raincoat Big City 

ราคา 1,990 บาท

MINI MONOMINI MONO รองเท้าซิลิโคนคลุมกันน้ำ รุ่น XI9813 สีขาว

ราคา 150 บาท 

อาจจะยังมีโรคภัยที่มากับฤดูฝนอีกมากมาย แต่ Central Inspirer ของแนะนำ 10 โรคเด่นๆ ที่ผู้คนมักเป็นกันมากในช่วงนี้มาฝาก หลายโรคมีพาหะจากสัตว์มาสู่คน หากคุณหรือสมาชิกในครอบครัวมีอาการเจ็บป่วยจากโรคใดๆ ที่มากับฤดูฝน แนะนำว่าควรไปพบแพทย์ รู้ทันโรค ป้องกัน รักษาเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และไม่แพร่เชื้อไปยังผู้อื่น Be Healthy Be Happy นะคะ 

ขอบคุณข้อมูลจาก: thairath.co.th / sikarin.com /

Picture credit: pinterest.com