New Mommy Diary Chapter 8 : เมื่อหนูน้อยอารมณ์ร้าย เราจะแก้ไขได้อย่างไร

คุณพ่อและคุณแม่หลายคู่อาจเคยประสบปัญหาลูกมีอาการหงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย อะไรไม่ได้อย่างใจก็จะมีสีหน้าโกรธ ใบหน้าบึ้งตึง ขว้างปาข้าวของ ส่งเสียงคำรามด้วยความไม่พอใจ เด็กบางคนเวลาโกรธจะตัวสั่น กำหมัด หรือหยิบของใกล้ตัวเขวี้ยงใส่คนที่ทำให้รู้สึกโกรธ 

อาการเจ้าอารมณ์ของเด็กน้อยอาจทำให้คุณแม่และคุณพ่อตกใจและไม่สบายใจ เพราะคิดว่าตัวเองไม่เคยมีพฤติกรรมแบบนี้ หรือไม่เคยแสดงอาการโมโหโกรธา หรือทะเลาะกันต่อหน้าลูกจนทำให้ลูกเลียนแบบ คุณแม่และคุณพ่อเลี้ยงลูกมาด้วยความอ่อนโยน ไม่เคยดุ หรือเจ้าอารมณ์ใส่ลูก แล้วทำไมลูกของเราถึงโมโหร้าย อาการแบบนี้ลูกไปติดที่ไหนมา หรือมันเกิดอะไรขึ้นกับลูกเรา

หากคุณแม่คุณพ่อคู่ไหนประสบปัญหาลูกน้อยอารมณ์ร้าย คงอยากทราบว่าเราจะหาวิธีใดช่วยให้ลูกคลายความขี้โมโหได้ ไม่ติดนิสัยไปจนโตขึ้นกลายเป็นคนเจ้าอารมณ์ ทำไมเด็กๆ ถึงมีอารมณ์ร้าย คุณแม่และคุณพ่อสามารถจัดการกับอารมณ์ของลูกได้อย่างไร วันนี้ Central Inspirer มีคำแนะนำมาฝาก

ทำไมลูกถึงโมโหร้าย

ANGRY KID

พฤติกรรมการแสดงอารมณ์ร้อน ความขี้โมโห และเกรี้ยวกราดของเด็กนั้น เกิดขึ้นได้บ่อยจากหลากหลายสาเหตุ เช่น

  • ลูกอยู่ในวัยที่กำลังแสดงความเป็นตัวของตัวเอง แต่ยังสื่อสารได้ไม่เต็มที่ จึงแสดงออกมาทางอารมณ์
  • ลูกรู้สึกไม่พอใจเพราะไม่ได้สิ่งที่ต้องการ ไม่ได้ดั่งใจ หรือแสดงอาการโมโหแล้วมักจะได้สิ่งที่ต้องการ จึงแสดงออกแบบนี้เรื่อยๆ 
  • ลูกมีพฤติกรรมเลียนแบบ เช่น เคยเห็นคุณแม่และคุณพ่อ หรือคนใกล้ชิดแสดงอาการโมโหร้าย เจ้าอารมณ์ เลยเลียนแบบ ทำตาม หรืออาจเห็นจากสื่อต่างๆ เช่น ในข่าว ในหนัง หรือละคร 
  • ด้วยพื้นฐานอารมณ์ของลูกเป็นคนร้อน โมโหง่ายอยู่แล้ว เมื่อได้รับการกระตุ้นเล็กน้อยก็ระเบิดอารมณ์ออกมาได้ง่าย

ปัจจัยของความโกรธ

ปัจจัยหลักที่ทำให้เด็กขี้โมโหควบคุมความโกรธของตนเองไม่ได้ ประกอบด้วย

1. ร่างกาย

นิสัยโมโหร้ายอาจเกิดจากการที่ลูกมีอาการต่างๆ ที่เกิดจากสมอง หรือร่างกายของเขา แต่คุณแม่และคุณพ่อไม่เคยสังเกตว่ามันอาจเป็นที่มีของความโกรธของลูก เช่น อาการเจ็บป่วย เป็นไข้ หรือโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ อาการของเด็กสมาธิสั้น ไบโพลาร์ ออทิสติก เป็นต้น อีกทั้งโครงสร้างสมองและระดับสารสื่อประสาทที่ไม่สมดุลจากอาการของโรคก็สามารถส่งผลให้เด็กใจร้อน หงุดหงิด และซึมเศร้าได้ หากคุณแม่และคุณพ่อเห็นว่าลูกเล็กของคุณหงุดหงิดง่าย โมโหร้ายอยู่บ่อยๆ แนะนำให้พาลูกไปปรึกษาจิตแพทย์เด็ก หรือพบกุมารแพทย์ประจำตัวของลูกเพื่อรับการปรึกษาได้

2. จิตใจ

ทางด้านจิตใจของลูกน้อย ความขี้โมโห โมโหร้ายอาจเกิดจากพื้นฐานธรรมชาติทางอารมณ์ของเด็ก เช่น ขี้โมโห เจ้าอารมณ์ ขาดความอดทน เป็นต้น อาการเหล่านี้อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ ส่งต่อจากคุณพ่อและคุณแม่สู่ลูกได้ 

3. โรคดื้อด้าน 

เมื่อคุณแม่และคุณพ่อเห็นว่าลูกแสดงอาการโมโหร้าย หงุดหงิดรำคาญใจ ร้องไห้โยเยอยู่บ่อยๆ เมันอาจไม่ได้เป็นพฤติกรรมทางอารมณ์ของเด็ก แต่เขาอาจกำลังมีอาการของ โรคดื้อด้าน หรือ ODD (Oppositional Defiant Disorder) ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง มักแสดงอาการให้เห็นได้ชัดเมื่อเด็ดเข้าสู่วัย 6-8 ขวบ และมักเกิดกับเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง อาการของโรคคือ เด็กมักมีอาการโมโหร้าย ชอบเถียง อารมณ์เสีย หงุดหงิดง่าย 

สาเหตุของโรค ODD ยังไม่ปรากฏแน่ชัด แต่นักวิชาการได้สรุปสาเหตุออกมาเป็น 2 ทฤษฏี คือ ทฤษฏีพัฒนาการ ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับเด็กในช่วงวัยหัดเดิน ซึ่งเป็นช่วงวัยแห่งการเติบโตและเรียนรู้ หากเด็กมีความบกพร่องทางพัฒนาการด้านนี้ จะทำให้เด็กเกิดอาการดังกล่าวได้ ทฤษฏีดี่ 2 คือ การเรียนรู้ที่เกิดจากพฤติกรรมด้านลบของคุณพ่อและคุณแม่ที่สะท้อนไปถึงลูก ทำให้เด็กแสดงพฤติกรรมด้านลบออกมา

4. สภาพแวดล้อม

หากเด็กถูกเลี้ยงดูและเติบโตมาในครอบครัวที่ใช้ความรุนแรงในแก้ปัญหา คุณพ่อและคุณแม่เป็นคนเจ้าอารมณ์ ทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่ตลอดเวลา มีอาการเกรี้ยวกราดต่อกันต่อหน้าลูกบ่อยๆ รวมทั้งการรับเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรงผ่านสื่อต่างๆ ก็มีผลกับอารมณ์ และความโกรธของเด็กน้อยได้เช่นกัน

หากลูกน้อยแสดงความโกรธอยู่บ่อยๆ ทั้งๆ ที่คุณแม่และคุณพ่อไม่ได้มีพฤติกรรมด้านลบต่อหน้าลูก ไม่เคยให้ลูกเสพสื่อ ดูหนัง ดูละครที่ส่อให้เห็นถึงความรุนแรง เราจะสามารถแก้ปัญหาโมโหร้ายของลูกได้อย่างไร 

เมื่อลูกอารมณ์ร้าย เราจะแก้ไขได้อย่างไร

จะสังเกตได้ว่าเด็กจะเริ่มแสดงอาการของความโกรธ และอาการก้าวร้าวได้เมื่อเข้าสู่วัยที่เริ่มโต หรือในช่วงอายุประมาณ 4-5 ขวบ เป็นต้นไป บางรายอาจแสดงออกถึงความโกรธ และฉุนเฉียวง่ายในวัยที่เด็กกว่านี้ สังเกตได้จากการทำลายข้าวของ การเขวี้ยงของเล่น หรือข้าวของด้วยความโกรธ กระชากผมตัวเอง ชักดิ้นชักงอ ร้องไห้เป็นชั่วโมง ทุบตึคุณแม่ คุณพ่อ พี่เลี้ยง หรือคนที่เข้าใกล้ เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความโกรธ ความไม่พอใจของเด็ก ดังนั้นคุณแม่และคุณพ่อควรช่วยกันแก้ไขอารมณ์ร้ายๆ ของลูกก่อนที่มันจะบานปลายดังนี้

1. สอนให้ลูกรู้จักบริหารความโกรธ 

1 MANAGE ANGER

ถึงแม้ว่าลูกจะยังเล็ก เราสามารถสอนให้ลูกรู้จักการบริหารความโกรธ หรือ Anger Management ได้โดยเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก ไม่แสดงพฤติกรรมด้านลบให้ลูกเห็น เมื่อคุณทั้งคู่ทะเลาะกัน หรือมีความโกรธ คุณทั้งคู่ต้องนิ่ง และปลีกตัวออกจากสถานการณ์นั้น ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ หรือ Emotional Control ไม่แสดงอารมณ์โกรธให้ลูกเห็นเป็นตัวอย่าง คุณแม่และคุณพ่อต้องรอให้มีความรู้สึกผ่อนคลายและเย็นลง พูดจากันให้นุ่มนวล ทำให้ลูกเห็นว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น แสดงให้ลูกเห็นว่าคุณทั้งคู่สามารถหายโกรธ ความโกรธไม่ใช่เรื่องใหญ่ และสามารถบำบัดได้ เพื่อให้ลูกได้ซึมซับตัวอย่างที่ดีในการจัดการกับอารมณ์โกรธจากคุณ

2. เมื่อลูกโกรธ ปล่อยให้ลูกอยู่กับตัวเองแล้วจึงค่อยอธิบายภายหลัง

2 ALONE

เด็กหลายคนเมื่อแสดงอาการโกรธ ไม่ว่าคุณแม่ คุณพ่อ หรือใครๆ ก็เอาเขาไม่อยู่ หากลูกมีอาการโกรธที่ไม่รุนแรง เช่น แสดงอาการหน้าบึ้ง ร้องให้ หรือฮึดฮัด ลองปล่อยให้เขาอยู่กับตัวเองสักพักจนอารมณ์เย็นลง ไม่ต้องดุด่าว่ากล่าวเพียงเพราะเขามีอารมณ์โกรธ เมื่อลูกอารมณ์ดีขึ้นแล้ว ลองเข้าไปสอบถามถึงความรู้สึก และเหตุผลว่าทำไมลูกจึงโกรธ เปิดโอกาสให้เขาระบายความคับข้องใจของเขาออกมา ใช้โอกาสนี้ในการรับฟังลูก อย่าตำหนิ ชี้ให้ลูกเห็นว่าผลลัพท์ที่ตามมาจากอารมณ์โกรธนั้นมันไม่ส่งผลดี คุณแม่และคุณพ่อต้องเป็นเพื่อนคู่คิด เป็นที่พึ่งทางอารมณ์ให้ลูก พร้อมสอนให้เขารู้จักการขอโทษหลังแสดงอาการโกรธเกรี้ยว หรือโมโหร้าย เช่นเดียวกับการรู้จักการให้อภัย บอกลูกถึงวิธีการจัดการกับความโกรธที่เหมาะสมสำหรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอีกในครั้งต่อๆ ไป พร้อมแนะวิธีการระบายความโกรธในรูปแบบอื่นที่ไม่ต้องผ่านความรุนแรง เช่น เมื่อรู้สึกโกรธ ให้ถอยออกมาจากคน หรือสิ่งที่ทำให้รู้สึกโกรธ แล้วแยกตัวออกไปอยู่ห่างๆ สงบสติแล้วไปเดินเล่นนอกบ้าน ไปเล่นกีฬา ขี่จักรยาน เล่นดนตรี หรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงแสนรัก แนะนำให้ลูกเลือกทำกิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายและลืมความโกรธได้

ชวนลูกทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อคลายความโกรธ

TURBO BOCLCLETURBO BICYCLE จักรยานเด็ก 16″ เมเจอร์

ราคา 4,090 บาท พิเศษ 3,680 บาท (SAVE 10%)

MICROMICRO สกูตเตอร์ Scooter Mini Deluxe Magic สำหรับ 2–5 ปี

ราคา 6,400 บาท พิเศษ 5,120 บาท (SAVE 20%)

 

GBGB สเก็ตบอร์ด ลาย Minions

ราคา 499 บาท

CASIO MUSICCASIO MUSIC คีย์บอร์ด รุ่น CTS200 AD5X2011 Stand Z Type

ราคา 8,900 บาท พิเศษ 7,890 บาท (SAVE 11%)

3. สอนวิธีจัดการอารมณ์ให้กับลูก

3 MANAGE ANGER

เมื่อลูกมีอาการโกรธ โมโหร้าย ให้สิทธิ์ลูกในการ “ขอเวลานอก” เพื่อให้พวกเขาสามารถจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น คุณแม่และคุณพ่ออาจสอนลูกว่า เมื่อลูกรู้สึกมีความรู้สึกโกรธ ลูกอาจพูดว่า  “หนูเริ่มโกรธแล้ว ขอหนูอยู่คนเดียวสักพักนะคะ” หรือหาวิธีอื่นๆ เช่น การกอดตุ๊กตา เล่นของเล่นตัวต่อ วาดรูประบายสีเพื่อทำสมาธิ และตั้งสติ หรือฟังเพลงที่ลูกชอบ การขอเวลานอก ลูกสามารถทำได้ทั้งเมื่ออยู่บ้าน และเมื่อไปโรงเรียนเมื่อเกิดอาการโกรธ หรือทะเลาะกับเพื่อน แนะนำให้คุณพ่อและคุณแม่แจ้งคุณครูประจำชั้นของลูกให้ทราบก่อนว่า หากลูกของคุณอาจพูดคำนี้กับคุณครู หมายความว่าลูกกำลังมีอารมณ์โกรธ และกำลังหาวิธีบำบัดความโกรธด้วยตัวเอง คุณครูต้องเข้าใจ และอนุญาตให้ลูกใช้เวลาอยู่กับตัวเองสักพักได้เพื่อให้อารมณ์สงบลง 

ของเล่นช่วยบรรเทาอาการหงุดงิดของลูก

SANRIOSANRIO ตุ๊กตา Hello Kitty In Jungle

ราคา 1,590 บาท พิเศษ 795 บาท (SAVE 50%)

BRIGHT STARTSBRIGHT STARTS ของเล่นตุ๊กตาสำหรับกอด รุ่น Kitt Plush Toy

ราคา 590 บาท พิเศษ 472 บาท (SAVE 20%)

LEGOLEO ของเล่นตัวต่อ Classic Creative Transparent Bricks รุ่น 11013 สี 

ราคา 1,120 บาท 

 

MEGA BLOKSMEGA BLOKS ตัวต่อนิ่มในธีมซาฟารีและสวนสัตว์

ราคา 2,500 บาท พิเศษ 2,125 บาท (SAVE 15%)

CRAYOLACRAYOLA สีเทียน 152 สี ปลอดภัยสำหรับเด็ก ไร้สารพิษ 100% 

ราคา 1,500 บาท 

4. เข้าใจความโกรธของเด็ก

4 UNDERSTAND

เมื่อคุณแม่และคุณพ่อเห็นลูกแสดงอาการโกรธ คุณควรบอกให้ลูกเข้าใจว่าความโกรธของลูกนั้นเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องธรรมชาติ ทุกคนล้วนมีสิทธิ์ที่จะโกรธกันได้ แต่เมื่อโกรธแล้ว ลูกต้องรู้วิธีจัดการกับพฤติกรรม และอารมณ์โกรธของตัวเองให้ได้เสียก่อนเป็นอันดับแรก การเบี่ยงเบนความสนใจจากอารมณ์โกรธของลูกก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำได้ และมีความเหมาะสม เมื่อลูกมีอารมณ์สงบขึ้น นิ่งขึ้น ค่อยให้ลูกเลือกวิธีที่จะจัดการกับความโกรธของตัวเอง โดยเปิดโอกาสให้เขากลับมาคิดหาสาเหตุว่าอะไรทำให้โกรธ ให้ลูกได้เรียนรู้ โดยมีคุณแม่และคุณพ่อคอยประคับประคองอยู่ข้างๆ

5. อย่าลืมให้คำชม 

5 PRAISE

เมื่อลูกน้อยสามารถจัดการกับความโกรธ สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี คุณแม่และคุณพ่อควรให้คำชมลูก เช่น “แม่รู้นะว่าหนูโกรธ แม่เข้าใจ แต่ลูกเก่งมากเลยที่ทำตัวปกติ ควบคุมอารมณ์ได้ แม่ภูมิใจในตัวหนูมาก” แสดงให้ลูกรู้สึกว่าทุกครั้งที่เขาโกรธ และควบคุมอารมณ์ได้ ไม่เดินไปทุบ หรือเกรี้ยวกราดใส่ใคร เขาจะได้รับคำชม รอยยิ้ม และการสวมกอดจากคุณแม่และคุณพ่อด้วยความรักและความเข้าใจ วิธีนี้ยังใช้ได้กับเมื่อลูกทำความผิด ทำของเสียหาย หรือแตกหัก และแสดงความกล้าหาญด้วยการเข้ามาสารภาพกับคุณ ให้ความรัก ความเข้าใจ ไม่แสดงความโกรธ ลูกน้อยจะเข้าใจ ไม่กลัวคุณดุด่า หรือทำโทษ วิธีนี้อาการโมโหร้ายจะบรรเทาไปในที่สุด

6. ให้คำแนะนำเมื่อลูกเห็นความรุนแรงในสื่อ

6 WATCH TV

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะไม่ให้ลูกเสพสื่อ ดูหนัง ดูละคร ดูข่าว ดูการ์ตูน หรือเล่นเกมที่เต็มไปด้วยความรุนแรงต่างๆ ทีมีเนื้อหาความรุนแรงในครอบครัว การสู้รบ ความตาย หรือการใช้คำหยาบ ดังนั้นคุณแม่และคุณพ่อควรอธิบาย พร้อมบอกเหตุผลให้ลูกฟังว่าสิ่งที่เห็นนั้นเป็นเพียงการแสดง ไม่ใช่ความจริง รวมทั้งลองให้ลูกออกความคิดเห็น โดยคุณรับฟัง และแนะนำให้ลูกเข้าใจอย่างเหมาะสม

7. ปรึกษาจิตแพทย์เด็กหากพฤติกรรมความโกรธนั้นรุนแรง

7 SEE DOCTOR

หากคุณทำทุกวิธีในการปลอบประโลมความโกรธให้กับลุกแล้ว แต่ลูกของคุณยังมีพฤติกรรมโมโหร้าย ใช้ความรุนแรง ฉุนเฉียว อารมณ์ร้ายอย่างต่อเนื่อง แนะนำให้พาลูกไปปรึกษาจิตย์แพทย์เด็ก นักจิตวิทยาเด็ก หรือแพทย์ประจำตัวลูก ยิ่งหากลูกเริ่มมีอาการทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้อื่น และทำลายข้าวของ ต้องทำให้ลุกหยุดพฤติกรรมนั้นโดยทันที แล้วพาลูกไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

เชื่อมั่นว่าคุณแม่และคุณพ่อหลายคู่คงมีลูกที่ชอบใช้อารมณ์ โมโหง่าย ทำให้คุณเป็นกังวลว่านิสัยเกรี้ยวกราด โมโหร้ายจะติดตัวลูกไปจนลูกโต พฤติกรรมทางอารมณ์แบบนี้เป็นเรื่องธรรมดา ที่เติบโตขึ้นพร้อมพัฒนาการของเด็ก แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่คุณแม่และคุณพ่อควรละเลย และทิ้งขว้างไม่คอยสังเกต หรือให้คำแนะนำกับเด็ก หากคุณแม่และคุณพ่อใส่ใจ ทำความเข้าใจและควบคุมพฤติกรรมเหล่านี้ของลูกด้วยความรัก ความเข้าใจ และความอบอุ่น ที่สำคัญไม่แสดงพฤติกรรมด้านลบเหล่านี้ให้ลูกเห็น อาการของคุณหนูอารมณ์ร้ายก็จะค่อยๆ จางหายไป อย่ากังวลใจ ให้ความรักกับลูกมากๆ แล้วทุกอย่างจะดีขึ้นค่ะ Happy Parenting นะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก: rakluke.com / .bangkokhospital.com / sikarin.com

Picture credit: pinterest.com