ป้องกันและแก้ไขปัญหาหัวนมแตก

ป้องกันและแก้ไขปัญหาหัวนมแตก

นับเป็นปัญหาใหญ่ของเหล่าคุณแม่เลยล่ะค่ะสำหรับปัญหาหัวนมแตก โดยเฉพาะกับคุณแม่ที่ให้ลูกน้อยดูดนมเป็นครั้งแรกจะรู้สึกเจ็บมาก ยิ่งคุณแม่ให้นมลูกน้อยเป็นประจำบริเวณหัวนมจะแตกแห้ง เพราะสูญเสียความชุ่มชื้น ทำให้คุณแม่หลายท่านอยากให้ลูกน้อยเลิกดูดนมจากเต้าไปเลยก็มี ทั้งที่อยากให้ลูกน้อยดูดนมจากเต้าให้นานที่สุด เนื่องจากคุณแม่จะมีอาการเจ็บที่หัวนม เพราะหัวนมแข็งและแตกแห้ง ซึ่งคุณแม่บางคนอาจมีเลือดออกซิบๆ อีกด้วย เรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าสาเหตุของปัญหานี้คืออะไร มีวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาหัวนมแตก ทำได้ไม่ยากด้วยวิธีเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ครีมทาหัวนมแตก การใช้ Pur ซิลิโคนป้องกันหัวนม จะช่วยบรรเทาปัญหาของคุณแม่ได้อย่างไรบ้าง ไปดูกันค่ะ

สาเหตุของปัญหาหัวนมแตก

1. ลูกน้อยดูดเฉพาะหัวนม

เจ้าตัวเล็กหลายคนมักดูดนมแม่แค่เฉพาะบริเวณหัวนม โดยอ้าปากกว้างไม่พอจนไม่ถึงลานนม โดยใช้เหงือกและฟันมาเคี้ยวหัวนมแม่แทน ทำให้คุณแม่มีรอยแดง และหากถูกทารกดูดเฉพาะหัวนมเป็นประจำจะทำให้เลือดซึมและเจ็บปวดมาก คุณแม่มือใหม่หลายท่านที่เจอเหตุการณ์นี้อาจจะทำให้ไม่อยากให้นมลูกด้วยตัวเองไปเลยทีเดียว

แก้ไขปัญหา : คุณแม่ให้ลูกคอยจับปากลูกให้อ้าปากกว้าง ลมลึกถึงลานนม ริมฝีปากทั้งด้านบนและด้านล่างของลูกควรแบะออกเหมือนปากปลา จมูก แก้ม และคางของลูกสัมผัสกับเต้านม หรือในท่านั่ง พุงลูกชนพุงแม่

2. ท่าวิธีอุ้มให้นมลูกและท่าดูดนมไม่ถูกวิธี

โดยคุณแม่อุ้มลูกนอนหงายหรือนอนตะแครงไม่ทั้งตัวโดยหันแต่ศีรษะลูกมางับหัวนม ไม่มีหมอนรองหรือผ้าหนุนให้ตัวลูกกระชับ ลำตัวลูกหล่นลงไปที่ตักของคุณแม่หรือเมื่อลูกดูดนมแม่ไม่สม่ำเสมอ คือ ลูกดูดเข้าดูดออก เดี๋ยวดูด เดี๋ยวผละออกจนทำให้เกิดการดึงรั้งหัวนมของคุณแม่ส่งผลให้หัวนมแตก

แก้ไขปัญหา : ใช้หมอนรองนอนสำหรับให้นมจะทำให้ลูกนอนดูดนมได้นานและสบายมากขึ้น คุณแม่จะไม่ปวดหลัง

3. เต้านมของคุณแม่มีอาการคัดตึง บริเวณลานมแข็ง

แก้ไขปัญหา : ถ้าเต้านมของคุณแม่มีอาการคัดตึง ให้บีบออกก่อนเพื่อให้นิ่ม ก่อนที่ลูกจะดูดนม ถ้าบริเวณลานมแข็ง แนะนำให้คุณแม่นวดประคบเต้านมให้นิ่มก่อน หากไม่นวดก่อน จะส่งผลให้ลูกไม่สามารถดูดนมแม่ได้

4. ลูกมีพังผืดใต้ลิ้น

คือ เส้นเนื้อเยื่อที่ยึดลิ้นไว้กับพื้นปากของลูกมีขนาดเส้นสั้น  ทำให้แลบลิ้นออกมาได้ไม่เต็มที่ เมื่อลูกดูดนมแม่เส้นเนื้อเยื่อจะเสียดสีหัวนมแม่ทำให้หัวนมแตกง่าย

แก้ไขปัญหา : โดยคุณแม่สามารถตรวจสอบพังผืดลูกน้อยได้โดยการสอดนิ้วเข้าไปแทรกระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นปาก หรือลองปรึกษาแพทย์เพื่อขลิบเส้นบางๆ นี้ออก

5. การทำความสะอาดหัวนมที่ไม่ถูกวิธี

คุณแม่หลายท่านกังวลเรื่องความสะอาดมากจนเกินไปคือใช้แอลกอฮอล์ สบู่ถูล้างหัวนม เช็ดหัวนมด้วยสำลี การแพ้แผ่นซับน้ำนมหรืออาบน้ำอุ่นจนผิวแห้งแตกง่าย

แก้ไขปัญหา : ให้คุณแม่เช็ดทำความสะอาดหัวนมและลานนมด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุกเบาๆ

ป้องกันหัวนมแตกด้วยการใช้ครีมทาหัวนมแตก Medela

ออกแบบมาเพื่อเหล่าคุณแม่โดยเฉพาะกับครีมทาหัวนมแตก Medela PureLan ผลิตจาก Lanolin 100% ปลอดภัย บริสุทธิ์ ปราศจากสารเจือปน จะช่วยป้องกันและบรรเทาอาการหัวนมเจ็บหรือหัวนมแตก ช่วยป้องกันการสูญเสียความชุ่มชื้นบริเวณหัวนมลานนม เมื่อคุณแม่มีแผลที่เจ็บตรงหัวนมหรือนมแตกสามารถทาครีมทาหัวนมแตก Medela นี้และให้นมบุตรได้โดยไม่จำเป็นต้องเช็ดยาออก

ป้องกันหัวนมแตกด้วยการใช้ Pur ซิลิโคนป้องกันหัวนม      

สำหรับแผ่นซิลิโคนป้องกันหัวนมแม่จาก Pur ได้ผลิตโดยวัสดุยางซิลิโคนคุณภาพสูง ไม่มีรส ไม่มีกลิ่นและไม่เป็นอันตรายต่อทารก Pur ซิลิโคนป้องกันหัวนมมีความอ่อนนุ่ม เพื่อให้กระชับกับหัวนมคุณแม่ ช่วยป้องกันไม่ให้ลูกน้อยติดเชื้อเมื่อต้องดูดนมจากหัวนมแม่ ในขณะที่หัวนมแตกเป็นแผล จะช่วยให้คุณแม่สามารถให้นมลูกน้อยได้บ่อยตามต้องการ โดย 1 แพ็ค ประกอบด้วย ซิลิโคนป้องกันหัวนมมารดา 2 ชิ้น

คุณแม่หลายท่านที่มีปัญหาหัวนมแตกพอจะคลายความกังวลกันไปบ้างหรือยังค่ะ? เมื่อเราทราบถึงสาเหตุ วิธีการแก้ไขปัญหาและวิธีป้องกันที่เราเอามาฝากกันทั้งการทาครีมทาหัวนมแตกหรือการใช้Pur ซิลิโคนป้องกันหัวนม คุณแม่ลองเอาไปใช้กันดูนะคะ รับรองว่าคุณแม่จะให้นมลูกได้อย่างสบายใจ ไร้กังวลแน่นอน