New Mommy Diary Chapter 10: “วิธีบำบัดลูกน้อย” จากอาการร้องไห้ โคลิค

เป็นอีกหนึ่งเรื่องเกี่ยวกับลูกน้อยที่คุณแม่และคุณพ่อมือใหม่หลายคนอาจเคยได้ยิน หรือแม้แต่ประสบปัญหานี้กับตัวเอง นั่นคือการร้องไห้ไม่หยุดของลูกน้อย การร้องไห้อย่างไม่หยุดหย่อน ร้องไห้อย่างมาราธอนของลูกสร้างความปั่นป่วน ความกังวล การอดหลับอดนอนให้กับคุณแม่และคุณพ่อ ธรรมดาแล้วการเลี้ยงทารกน้อยก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้พลังงานอย่างสูงอยู่แล้ว สำหรับคู่คุณแม่และคุณพ่อที่มีทารกคนแรก หรือจะเป็นคนที่เท่าไหร่ก็ตาม หากลูกน้อยมีอาการร้องไห้ โคลิคด้วยแล้ว ยิ่งทำให้คุณแม่และคุณพ่อปวดเศียรเวียนเกล้าเข้าไปใหญ่ 

อาการร้องไห้ โคลิคของทารกน้อยนั้น ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้หลักผู้ใหญ่ที่บ้านมักบอกว่าลูกน้อยมีแม่ซื้อมาหยอกล้อเล่นด้วย เลยร้องไห้ไม่หยุด อันที่จริงอาการร้องไห้ โคลิคของทารกน้อยนั้นคืออะไร ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับแม่ซื้อนั้นมีที่มาอย่างไร ทำไมทารกน้อยจึงร้องไห้ได้ทั้งวันทั้งคืน อาการร้องไห้ โคลิคเกิดจากสาเหตุใด แล้วเราในฐานะคุณแม่และคุณพ่อจะรับมือได้อย่างไร วันนี้เรามาดูพร้อมกันเลยค่ะ

อาการ “ร้องไห้ โคลิค” ในเด็กทารกคืออะไร

COLIC

การร้องไห้ โคลิค หรือ Baby Colic คือ อาการร้องไห้ที่เกิดขึ้นกับทารกน้อยที่มีอายุราว 2-4 สัปดาห์ ทารกน้อยจะร้องไห้อย่างหนักโดยไม่ทราบสาเหตุ และไม่สามารถกล่อมให้หยุดร้องไห้ได้ แต่นี่ถือว่าเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับทารกทุกคน ทั้งเพศชายและเพศหญิง แม้จะมีสุขภาพดีหรือรับประทานนมได้ตามปกติก็ตาม โดยทั่วไป เมื่อทารกมีความรู้สึกหิว กลัว เหนื่อย หรือรู้สึกเปียกชื้น ก็มักจะส่งเสียงร้องไห้ออกมา แต่หากมีอาการโคลิคจะร้องไห้หนักมาก และร้องไห้ในช่วงเวลาเดิมๆ เป็นประจำ โดยเฉพาะเวลาเย็นหรือหัวค่ำ และจะร้องเสียงดัง เสียงแหลม และนานกว่าปกติ โดยรวมแล้วจะร้องไห้ประมาณวันละ 3 ชั่วโมง มากกว่าสัปดาห์ละ 3 วัน และยาวนานอย่างน้อย 3 สัปดาห์หรือบางรายอาจนานกว่านั้น และอาจมีอาการดีขึ้นเมื่ออายุประมาณ 3-4 เดือนขึ้นไป

ความเชื่อของคนไทยเกี่ยวกับการร้องไห้ โคลิค

คุณแม่และคุณพ่อคงเคยได้ยินความเชื่อเกี่ยวกับ “แม่ซื้อ” ที่ผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้อาวุโสเคยพูดให้ฟัง และเป็นความเชื่อมาแต่โบราณว่า แม่ซื้อคือ ผู้สร้างเด็กขึ้นมา และส่งเข้าสู่ครรภ์มารดา หากว่าเด็กเกิดมาแล้วน่ารัก แม่ซื้อก็อาจจอยากได้ตัวเด็กกลับคืนไป โดยการทำให้เด็กป่วยจนตาย คนไทยจึงมีประเพณี วัฒนธรรม และค่านิยมหลายๆ อย่างที่จะช่วยป้องกันเด็กไม่ให้ผีนำตัวกลับไป เช่น

  • การชมเด็กว่า “น่าเกลียดน่าชัง” เพราะต้องการหลอกแม่ซื้อว่าเด็กคนนี้ไม่น่ารัก ไม่น่าเอาไปอยู่ด้วย
  • การทำพิธีร่อนกระด้ง ซึ่งเป็นพิธีโบราณที่หมอตำแยจะยกกระด้งที่รองทารกขึ้น ร่อนไปมา พลางพูดว่า “สามวันเป็นลูกผี สี่วันเป็นลูกคน ลูกของใครมารับเอาเน้อ” แล้วค่อยๆ ทิ้งกระด้งลงกับพื้นเบาๆ พอให้เด็กสะดุ้งร้อง ทำแบบนี้จนครบ 3 ครั้ง จากนั้นให้พ่อของทารก เอาสตางค์มาซื้อ และกล่าวว่า “ลูกของข้าฯ เอง” แล้วรับเอากระด้งเด็กมาวางไว้ที่ข้างตัว เพื่อป้องกันแม่ซื้อมาเอาตัวทารกไป แต่ในปัจจุบันนี้พิธีการร่อนกระด้งแทบจะไม่มีให้เห็นกันแล้ว .
  • การนำยันต์มาติดไว้ที่เปลเด็ก เพื่อป้องกันผีแม่ซื้อมาลักตัวทารกน้อยไป

ในสมัยโบราณ ความเชื่อเรื่องแม่ซื้อเป็นความเชื่อหลักในสังคม เห็นได้จากหลักฐานที่มีบันทึกโองการแม่ซื้อ จารึกอยู่ที่วัดโพธิ์ในหมวดเกี่ยวกับยา ด้วยเพราะคนโบราณเชื่อว่า สาเหตุที่เด็กป่วยไข้ไม่สบาย เป็นเพราะแม่ซื้อต้องการนำตัวเด็กกลับไปนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะมีเข้ามามากขึ้น จนทำให้ความเชื่อเรื่องแม่ซื้อจางหายไปตามกาลเวลา แต่ก็ยังมีผู้คนจำนวนมากที่เชื่อว่า เด็กๆ ยังมีแม่ซื้ออยู่ใกล้ๆ ตลอดเวลา 

เกิดเป็นคนไทย ความเชื่อเรื่องแม่ซื้อแม้จะเริ่มจางหายไป แต่หากบ้านไหนมีผู้ใหญ่อยู่ในบ้าน และลูกน้อยมีอาการร้องไห้ โคลิคก็คงอดไม่ได้ที่จะได้ยินผู้ใหญ่พูดเกี่ยวกับเรื่องแม่ซื้อ ไม่เชื่อก็ไม่ควรลบหลู่นะคะ 

ทีนี้หันมาทางด้านวิทยาศาสต์กันบ้าง กุมารแพทย์ให้ความรู้ว่าอาการร้องไห้ โคลิคในทารกนั้นมาจากสาเหตุและปัจจัยอะไรบ้าง มาดูกัน

อาการร้องไห้ โคลิคเกิดจากอะไร

CRYING

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการร้องไห้ โคลิค แต่อาการที่ทารกน้อยร้องไห้ โยเย แผดเสียงอย่างมาราธอนไม่หยุดไม่หย่อนนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ดังนี้

  • การหดเกร็งของกล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหาร
  • ทารกน้อยมีลมหรือแก๊สในท้องมาก ซึ่งการร้องไห้อาจทำให้ทารกกลืนลมจำนวนมากเข้าไปในท้อง
  • เกิดจากอาการปวดท้องที่มีสาเหตุมาจากฮอร์โมนในร่างกายปรับเปลี่ยน
  • การถูกรบกวนหรือถูกกระตุ้นจากปัจจัยภายนอกมากเกินไป เช่น เสียง หรือแสงไฟ เป็นต้น
  • เกิดจากพื้นฐานทางอารมณ์ของทารก หรือเด็กที่พ่อแม่มีปัญหาทางอารมณ์
  • เกิดจากการพัฒนาของระบบประสาทที่ยังไม่สมบูรณ์ หรือการระคายเคืองของระบบประสาท
  • เกิดจากปัญหาจากการป้อนนม เช่น คุณแม่ป้อนมากเกินไป น้อยเกินไป หรือป้อนผิดวิธี
  • เกิดจากปัญหาทางสุขภาพของทารกเอง เช่น มีอาการกรดไหลย้อน หูอักเสบ โรคติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ แพ้นมวัว มีผื่นผ้าอ้อม หรือมีอาการไส้เลื้อน เป้นต้น 

วิธีรับมือเมื่อทารกน้อยร้องไห้ โคลิค

เมื่อทารกน้อยร้องไห้ อาจแสดงถึงความต้องการว่าหิว เหนื่อย กลัว หรืออาจร้องไห้เพราะเจ็บป่วยหรือเป็นผลมาจากความผิดปกติในร่างกาย ดังนั้นคุณแม่และคุณพ่อควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. พาไปพบกุมารแพทย์

1 SEE DOCTOR

แน่นอน ถ้าลูกน้อยร้องไห้อย่างหนักติดต่อกัน ไม่มีคุณแม่หรือคุณพ่อคู่ไหนจะสามารถจัดการเองได้ นอกจากพาลูกไปพบกุมารแพทย์ เพื่อให้ตรวจสอบว่ามีความผิดปกติทางร่างกายเกิดขึ้นกับลูกน้อยหรือไม่ คุณแม่และคุณพ่อเองก็ควรดูแลรักษาสุขภาพทั้งกายและใจ เพื่อเตรียมความพร้อมและรับมือกับอาการร้องไห้ โคลิคของลูกน้อยด้วยค่ะ

2. ตรวจสอบความชื้นของผ้าอ้อมหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป

2 DIAPER

บ่อยครั้งที่ทารกน้อยร้องไห้ โยเยไม่หยุดหย่อน อาจเป็นเพราะความเปียกชื้นของผ้าอ้อมหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่มากเกินไป จนทำให้ลูกน้อยไม่สบายตัว

ผ้าอ้อมเด็กคุณภาพดี น่าใช้

MAMYPOKOMAMYPOKO ผ้าอ้อมเด็กแบบเทปกาว ซูเปอร์พรีเมี่ยม ออร์แกนิค เทป ไซส์ NB จำนวน 84 ชิ้น

ราคา 589 บาท 

HUGGIESHUGGIES ผ้าอ้อมเด็กแบบเทป ไซส์ S Gold Soft and Slim 

ราคา 599 บาท พิเศษ 449 บาท (SAVE 25%)

BABYLOVEBABYLOVE กางเกงผ้าอ้อม ไซส์ M รุ่น Over Night Pants ขนาดจัมโบ้ จำนวน 52 ชิ้น/แพ็ค

าคา 449 บาท พิเศษ 359 บาท (SAVE 20%)

KALOOKALOO ผ้าอ้อมมัสลินคอตตอนแบมบู ลาย Pink Spotted Stripe รุ่น LJ210 ขนาด 70 x 70 ซม. จำนวน 3 ชิ้น/แพ็ค

ราคา 920 บาท

3. อุณหภูมิห้อง

3 TEMERATURE

บ่อยครั้งที่ลูกน้องร้องไห้หนัก เพราะอุณหภูมิในห้องนอนหนาว หรือร้อนเกินไป ควรปรับปรับอุณหภูมิภายในห้องให้พอดี ประมาณ 25-26 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่กำลังดีสำหรับทารกน้อย

4. การดูดช่วยสร้างความผ่อนคลาย

PACIFIER

บางครั้งทารกร้องไห้อาจจะไม่ได้หิวนมเสมอไป เพียงแค่ต้องการหรืออยากจะดูดบางอย่าง คุณพ่อคุณแม่อาจให้ลูกน้อยดูดจุกหลอกหรือดูดนิ้วมือของทารกเองก็ได้ แต่การดูดนมก็ช่วยให้เด็กหยุดร้องได้ แต่ไม่ควรแก้ปัญหาด้วยการให้ดูดนมทุกครั้งไป เพราะหากลูกดูดนมมากเกิน จะส่งผลให้เกิดเด็กเกิดอาการปวดท้อง ซึ่งจะกลายเป็นวงจรที่ทำให้เกิดอาการร้องไห้ โคลิคได้

ดูดเพื่อป้องกันอาการโคลิค

BRIGHT STARTS PACIFIERBRIGHT STARTS จุกหลอกพร้อมตุ๊กตา รุ่น Cozy Coos Accor

ราคา 990 บาท พิเศษ 792 บาท (SAVE 20%)

PIGEON PACIFIERPIGEON จุกนมหลอก Skin Friendly ไซส์ M

ราคา 149  บาท 

PHILIPS AVENTPHILIPS AVENT ขวดนมพร้อมจุกนมซิลิโคน แอนตี้โคลิคแอร์ฟรีเว้นท์ ขนาด 4 ออนซ์ แพ็คพิเศษ 2 แถม 1

ราคา 700 บาท 

PHILIPS AVENT COLIC BOTTLES 2PHILIPS AVENT ชุดผลิตภัณฑ์แอนตี้โคลิคแอร์ฟรีเว้นท์ สำหรับเด็กแรกเกิด รุ่น SCD807/00

ราคา 1,990 บาท พิเศษ 1,490 บาท (SAVE 25%)

MAM BOTTLEMAM ขวดนมป้องกันโคลิค Mam ขนาด 4.5 ออนซ์

ราคา 450 บาท 

5. อุ้มลูกน้อยไว้ในอ้อมกอด

5 HOLDING BABY

การอุ้มทารกน้อยในอ้อมแขนด้วยการใช้เป้อุ้มเด็กหรือผ้าอุ้มเด็ก แล้วโยกไปมาเบาๆ จะสร้างความรู้สึกถึงความใกล้ชิดกับคุณแม่และคุณพ่อ พาลูกออกไปเดินเปลี่ยนบรรยากาศภายนอกบ้านบ้าง อาจช่วยให้ทารกสงบลงได้ จากสถิติพบว่าทารกในหลายประเทศ ทารกไม่มีอาการโคลิค เนื่องจากมีการถูกอุ้มเกือบตลอดทั้งวัน

เป้อุ้มเด็ก หรือผ้าอุ้มเด็กคุณภาพ

JOIEJOIE เป้อุ้มเด็ก Savvy Marina 

ราคา 9,500 บาท พิเศษ 7,125 บาท (SAVE 25%)

ECLEVE PINKECLEVE เป้อุ้มเด็ก รุ่น Pulse Line 3 in 1 

ราคา 7,890 บาท 

POGNAE

POGNAE เป้อุ้มเด็กแบบผ้า 

ราคา 3,290 บาท 

6. นวดผ่อนคลาย

6 MASSAGE BABY

การนวดผ่อนคลายเหมาะสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 6 สัปดาห์ขึ้นไป นอกจากจะช่วยผ่อนคลายทารกแล้วยังช่วยไล่ลมและกระตุ้นระบบย่อยอาหารได้อีกด้วย วิธีการนวด ควรนวดในทิศทางตามเข็มนาฬิกา จากขวาล่างขึ้นไปชายโครงขวา ผ่านหน้าท้องด้านบนไปทางชายโครงซ้าย แล้ววกลงล่างมาที่หน้าท้องด้านล่างซึ่งเป็นตำแหน่งของลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่จะได้เคลื่อนบีบตัวดันให้ลมและอุจจาระลงมาทางทวารหนัก ช่วยในการขับถ่าย ให้ทารกน้อยสบายท้อง คุณแม่และคุณพ่อควรฝึกนวดทารกน้อยทุกวันเพื่อสุขภาพที่ดีของเขาค่ะ

น้ำมันนวดผ่อนคลายทารกน้อย

CHICCO OILCHICCO ออล์ยบำรุงผิวสำหรับเด็ก ขนาด 200 มล.

ราคา 450 บาท

หากคุณแม่และคุณพ่อปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นแล้ว คาดว่าอากรร้องไห้ โคลิคของลูกน้อยจะบรรเทาลง แต่หากมีความกังวลใจ แนะนำให้พาลูกน้อยไปปรึกษากุมารแพทย์เพิ่มเติม เพื่อให้คุณลดความเป็นห่วง และวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการร้องไห้ไม่หยุดของลูกน้อย 

อย่างไรก็ตาม คุณแม่และคุณพ่อสบายใจได้ว่าอาการร้องไห้ โคลิคไม่มีความร้ายแรง ไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพของลูกน้อย เมื่อลูกหยุดร้องแล้ว เขาจะกลับมาเป็นปกติ และอาการโคลิคจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ก็หายไปเอง คุณแม่และคุณพ่อเองอาจเหนื่อยหน่อย เพราะต้องดูแลลูกน้อย คุณต้องประสานมือกัน อดทนกันให้มากๆ สู้ด้วยความรัก และทุกอย่างจะดีขึ้นเอง Happy Parenting ค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : pobpad.com / happymom.in.th / nestlemomandme.in.th

Picture credit: pinterest.com