เทียบให้ชัด!! โควิดสายพันธ์ุใหม่ Omicron BA.2 กับสายพันธุ์อื่นๆ ต่างกันอย่างไร และวิธีรับมืออย่างมีประสิทธิภาพ

แทบไม่น่าเชื่อว่าไวรัสโควิด-19 อยู่กับชาวไทยและชาวโลกมากกว่า 3 ปีและนับวันจะมีความรุนแรงมากขึ้น มีสถิติการติดเชื้อและการเสียชีวิตในบ้านเราเพิ่มขึ้นทุกวัน ดูเหมือนว่ามันจะทวีความรุนแรงขึ้นมากกว่าช่วงปีแรกๆ ที่โควิด-19 เข้ามาสู่โลกของเราเสียอีก 

ไม่ว่าเราจะได้ฉีดวัคซีนป้องกัน และ Booster Shot กันไป 3-4 เข็มแล้ว แต่ดูเหมือนว่าเราก็ทำได้เพียงป้องกัน หลายคนก็ยังติดโควิด-19 แม้ว่าจะดูแลตัวเองกันมากแค่ไหนก็ตาม

ความกังวลใจเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 มีให้เห็นได้โดยทั่ว Central Inspirer เองก็รู้สึกมีความไม่สบายใจ และไม่เข้าใจว่าทำไมโควิด-19 จึงไม่หมดไปจากโลกเราเสียที กลับเพิ่มความรุนแรงไปทั่ว ดังนั้นวันนี้ Central Inspirer จึงขอแนะนำให้ทุกคนได้ทำความรู้จักกับโควิด-19 ทุกสายพันธุ์ว่ามันมีความรุนแรง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร รวมทั้งขอตอกย้ำกันอีกครั้งกับวิธีป้องกันตัวเองจากโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ใดก็ตาม

ปัจจุบันโควิด-19 มีกี่สายพันธุ์ 

ไม่ต้องพูดซ้ำกันอีกแล้วว่าโควิด-19 คืออะไร ทุกคนทราบดีว่ามันคือไวรัสร้ายที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกที่ทำให้คนเจ็บป่วย และบาดเจ็บล้มตายกันเป็นจำนวนมาก ไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบันแบ่งออกตามการค้นพบดังต่อไปนี้ 

1. สายพันธุ์ S (Serine) รหัสพันธุกรรมไวรัส: S

SIRINE

โควิดสายพันธุ์ S (Serine) หรือ สายพันธุ์อู่ฮั่น เป็นสายพันธุ์ออริจินัลดั้งเดิมที่พบครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนในปี 2019 โดยการระบาดระลอกแรกในประเทศไทยไทยเริ่มต้นเมื่อเดือนมีนาคม 2020 จากคลัสเตอร์สนามมวยลุมพินี ราชดำเนิน และอ้อมน้อย และทวีความรุนแรงกระจายเชื้อไปเรื่อยๆ จนสร้างความหวาดวิตกให้กับคนไทยทั่วทั้งประเทศ 

2. สายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha) รหัสพันธุกรรมไวรัส: B.1.1.7

ALPHA

โควิดสายพันธุ์อัลฟ้า หรือสายพันธุ์อังกฤษ พบครั้งแรกที่เมืองเคนต์ ในประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2020 ก่อนจะเข้ามาระบาดในประเทศไทยเมื่อต้นเดือนมกราคม 2021 และแพร่ระบาดอย่างหนักจากคลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทองหล่อ ปัจจุบันเป็นสายพันธ์ุหลักที่ระบาดไปแล้วกว่า 138 ประเทศทั่วโลก เนื่องจากสายพันธุ์นี้แพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่นมากถึง 40-70% และยังเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดี ทำให้มีอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตสูงขึ้นถึง 30%

3. สายพันธุ์เบต้า (Beta) รหัสพันธุกรรมไวรัส: 501Y.V2 หรือ B.1.351

BETA

โควิดสายพันธุ์เบต้า หรือสายพันธุ์แอฟริกา พบครั้งแรกในอ่าวเนลสันแมนเดลา เมืองอีสเทิร์นเคปของแอฟริกาใต้ เมื่อเดือนตุลาคม 2020 พบครั้งแรกในประเทศไทยที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2021 สำหรับสายพันธุ์เบต้าพบว่ามีอัตราการแพร่เชื้อไวขึ้น 50% จากสายพันธุ์เดิม อีกทั้งมีการกลายพันธุ์ในตำแหน่งสำคัญ จึงทำให้เชื้อไวรัสมีความสามารถในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้น ดังนั้นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันหรือเคยติดเชื้อแล้วก็จะยังสามารถติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์นี้ซ้ำได้อีก

4. สายพันธุ์เดลต้า (Delta) รหัสพันธุกรรมไวรัส: B.1.617.1 หรือ B.1.617.2

DELTA

โควิดสายพันเดลต้า หรือสายพันธุ์อินเดีย เป็นสายพันธุ์ที่พบในประเทศอินเดียก่อนจะมีการกระจายไปในหลายประเทศทั่วโลก โดยสายพันธุ์นี้สามารถจับเซลล์ของมนุษย์ได้ง่ายขึ้น ติดง่ายขึ้น แพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็วกว่า จึงระบาดรวดเร็ว โดยในประเทศไทยพบครั้งแรกที่คลัสเตอร์แคมป์คนงานหลักสี่ นอกจากนี้ยังพบว่าโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าสามารถกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดลต้า พลัส ซึ่งทำให้ผู้ที่สัมผัสเชื้อติดเชื้อง่ายกว่าเดิม ทั้งยังหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้ดีอีกด้วย

5. สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) รหัสพันธุกรรมไวรัส: B.1.1.529

OMICRON

ถือเป็นโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ประกาศยกระดับให้เป็นสายพันธุ์ระดับที่น่ากังวล หรือ Variants of Concern หรือ VOC ถูกค้นพบครั้งแรกในตอนใต้ของทวีปแอฟริกาใต้ ที่ประเทศบอตสวานา การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในครั้งนี้มีการกลายพันธุ์ของยีนมากถึง 50 กว่าตำแหน่ง โดย 32 ตำแหน่งเกิดขึ้นบนโปรตีนหนามแหลม หรือที่เรียกว่า Spike Protein ซึ่งเป็นโปรตีนที่ไวรัสใช้ในการเข้าสู่เซลล์ของร่างกายมนุษย์ซึ่งพบมากกว่าทุกสายพันธุ์ และมากกว่าสายพันธุ์เดลต้าถึง 2 เท่า พบการกลายพันธุ์ที่ส่วนตัวรับซึ่งไวรัสใช้จับยึดกับเซลล์ของคนเราถึง 10 ตำแหน่ง

6. สายพันธุ์โอมิครอน BA.2 รหัสพันธุกรรมไวรัส: BA.2

BA2

โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ล่าสุดที่มาเร็วและมาแรงที่สุด แสดงอาการน้อย มีอาการเหมือนคนเป็นหวัด หรือแทบจะไม่มีอาการเลยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน BA.2 ถูกนำมาถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างผู้ติดเชื้อทั่วโลก โอมิครอน BA.2 บางครั้งถูกเรียกว่า สายพันธุ์ล่องหน (Stealth Variant) เพราะสามารถตรวจ RT-PCR ได้ครบทั้งสามยีนส์ ทำให้แยกไม่ออกระหว่าง “เดลต้า” กับ “BA.2” เพราะเดลต้าก็ตรวจ RT-PCR ได้ครบทั้งสามยีนส์เช่นกัน ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยอาจแพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็วเท่าหรือรวดเร็วกว่าสายพันธุ์หลัก มีความสามารถในการหนีภูมิคุ้มกันได้สูงกว่า นั่นแปลว่าถึงแม้ว่าคุณได้ฉีดวัคซีนป้องกันไปแล้วกี่เข็มก็ตาม หากคุณไม่ระมัดระวังตัว คุณอาจติดเชื้อโอมิครอน BA.2 ได้ในเวลาอันรวดเร็ว

โควิด-19 แต่ละสายพันธุ์มีอาการแตกต่างกันอย่างไร

covid-19-symptoms-chart

จะเห็นได้ว่าอาการในระยะแรกของการติดโควิด-19 แต่ละสายพันธุ์มีอาการคล้ายคลึงกัน จะมีความแตกต่าง หรือทวีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อผู้ติดเชื้อไม่ได้มีโอกาสเข้าถึงการรักษาทางการแพทย์ หรือไม่ได้พบแพทย์ โดยผู้ที่มีโอกาสติดส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ผลักดันตัวเองไปอยู่ในพื้นที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน และแออัดโดยไม่ป้องกันหรือดูแลตัวเอง หรือแม้แต่ป้องกันตัวเองดีแล้วแต่ในขณะนั้นภูมิป้องกันตัวเองมีน้อย จึงสามารถติดเชื้อได้ง่าย เช่นเดียวกับผู้ที่มีโรคประจำตัวต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคอ้วน โรคความดัน โรคไต โรคระบบทางเดินหายใจ ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือผู้ที่ต้องรับประทานยากดภูมิอยู่ตลอดเวลา รวมไปถึงผู้สูงอายุ และเด็กเล็ก หากคุณมีอาการเหล่านี้ ถึงแม้ว่าจะได้รับวัคซีนครบแล้ว อย่ามั่นใจว่าคุณจะไม่เป็นอะไร หาชุดตรวจเชื้อโควิด-19 หรือชุดตรวจ ATK คุณภาพที่สามารถตรวจได้เองที่บ้านเพื่อเสริมความมั่นใจ หากคุณมีอาการของโควิด-19 แนะนำให้ติดต่อ “สายด่วนโควิด” ที่สปสช. โทร 1330 หรือโทร 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือแอดไลน์ไอดี @sabaideebot สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน EMS 1669 เพื่อใช้เป็นอีกช่องทางสำหรับเรียกรถพยาบาลกรณีฉุกเฉินได้

ชุดตรวจ ATK คุณภาพ

HIP ATK TESTHIP BIOtech ชุดตรวจโควิด-19 Antigen Test Kit (ATK) โดยวิธีการตรวจโพรงจมูก (1กล่อง/20 Test)

ราคา 1,700 บาท พิเศษ 1,590 บาท (SAVE 6%)

ALLWELL ATK TESTALLWELL AESKU ATK ชุดตรวจโควิด COVID-19 Antigen test kit นำเข้าจากเยอรมัน (ขนาดบรรจุ 2 ชิ้น)

ราคา 430 บาท 

HUMASISHUMASIS ATK 2 กล่องใหญ่ แถมฟรี 25 กล่องเล็ก (ุ65 ชุดตรวจ)

ราคา 15,600 บาท พิเศษ 8,840 บาท (SAVE 43%)

โอมิครอนสายพันธุ์ BA.2 ดุกว่าสายพันธุ์อื่นอย่างไร

ผศ.นพ. โอภาส พุทธเจริญ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยได้กล่าวถึงความรุนแรงของโอมิครอนสายพันธุ์ BA.2 ว่าเป็นที่น่ากังวลว่าจะเป็นสายพันธุ์ที่ติดเชื้อได้ง่ายกว่าเดิม พบการกลายพันธุ์ที่ลดการตอบสนองการรักษาด้วยยา Monoclonal Antibody ที่มีในเมืองไทยทุกตัว โดยมีประเด็นที่น่าเป็นห่วงดังนี้ 

1. ความรุนแรงของการติดเชื้อในโอมิครอนสายพันธุ์ BA.2 นั้นเมื่อติดเชื้อจะทำให้อาการหนักขึ้น โอกาสในการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับเชื้อสายพันธุ์อื่นๆ ข้อมูลในปัจจุบันจากในหนูที่ทดลองให้ติดเชื้อ BA.2 พบว่าปอดอักเสบเกิดมากกว่า BA.1 แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าในคนจะอาการรุนแรงเหมือนในหนูเสมอไป เพราะในคนความรุนแรงยังขึ้นอยู่กับการได้วัคซีน อายุ และโรคประจำตัว

2. โอมิครอนสายพันธุ์ BA.2 ติดต่อได้ง่ายกว่า BA.1 และสายพันธุ์เดลต้า ดังนั้นในบางประเทศจึงพบว่ามีสัดส่วนของเชื้อนี้สูงขึ้น ในห้องทดลองพบว่าไวรัสมีส่วนของ Spike หรือหนามแหลมที่จับกับเซลล์ได้ดีกว่าสายพันธุ์อื่น

3. ความสามารถในการหลบภูมิของสายพันธุ์นี้จากวัคซีนก็มีความสามารถพอๆ กันกับโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยอื่นๆ แต่ยังมีความเชื่อว่าการได้รับเข็มกระตุ้นยังสามารถช่วยป้องกันโรคที่รุนแรงและป้องกันเสียชีวิตได้

4. ไวรัสสายพันธุ์นี้มีการกลายพันธุ์ที่ลดการตอบสนองการรักษาด้วยยา Monoclonal Antibody ที่มีในเมืองไทยทุกตัว แต่เดิมไวรัสโอมิครอนธรรมดาใช้ยา Sotrovimab หรือยาที่ใช้รักษาอาการโควิด-19 ได้ แต่ตอนนี้ถ้ามีอาการติดไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ BA.2 ยาตัวนี้อาจใช้ไม่ได้ผลแล้ว

อย่างไรก็ตาม โดยสรุปคือ ไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ BA.2 เป็นเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ล่าสุดที่ไม่ควรชะล่าใจ และไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นสายพันธุ์ล่องหน แสดงอาการน้อย เหมือนเป็นไข้หวัด ติดได้ง่าย และรวดเร็ว คนที่มีความเสี่ยงต่อโรครุนแรงหรือได้รับวัคซีนไม่ครบ อาจจะมีปัญหาในการรักษา เนื่องจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้ลดการตอบสนองต่อยา หรือวัคซีนบางตัว ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ชีวิตอย่างประมาท

วิธีป้องกันตัว และรับมือกับโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่

1. ฉีดวัคซีนป้องกัน

INJECTION

แน่นอนเรื่องนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่สำคัญที่สุดในการป้องกันตัวจากโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ไหนก็ตาม การฉีดวัคซีนป้องกันจะช่วยสร้าง Antibody หรือภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เพราะเราทุกคนไม่เคยทราบว่าแต่ละคนมีภูมิคุ้มกันมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะบุคคลที่มีโรคประจำตัว ผู้สูงอายุ และเด็กเล็ก

2. สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

WEAR MASK

หน้ากาอนามัยกลายเป็นไอเทมสำคัญที่ทุกคนต้องมีติดตัวมาเกือบ 3 ปีแล้ว ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนต้องใส่หน้ากากอนามัยอยู่เสมอ และควรเลือกหน้ากากอนามัยคุณภาพ มีชิ้นใหม่ติดตัวไว้ตลอดเวลา เพราะในหนึ่งวัน คุณควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัยใหม่สัก 1-2 ชิ้นจะดีที่สุด ที่สำคัญต้องใส่ให้กระชับ อย่าใส่หลวมๆ สักแต่ว่าใส่ จมูกหรือปากลอดออกมามันจะไม่ปลอดภัยกับตัวคุณและผู้อื่น

หน้ากากอนามัยคุณภาพ 

UNICHARMUNICHARM 3D MASK ทรีดี มาสก์ หน้ากากอนามัยสำหรับผู้ใหญ่ 100 ชิ้น รุ่น 8851111639052 สีฟ้า ไซส์ M

ราคา 1,159 บาท พิเศษ 1,029 บาท (SAVE 11%)

MAMY POKOMAMY POKO 3D Mask หน้ากากกันฝุ่นละออง สำหรับเด็ก

ราคา 89 บาท พิเศษ 79 บาท (SAVE 11%)

IRIS OHYAMAIRIS OHYAMA หน้ากากอนามัย รุ่น บิวตี้ฟิต (7 ชิ้น) 

ราคา 40 บาท 

3. ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ  

WASH HANDS

การล้างมือให้สะอาดเป็นอีกเรื่องสำคัญที่ลืมไม่ได้ เตือนตัวเองให้ล้างมือบ่อยๆ ตลอดเวลาไม่ว่าจะไปไหนหรือหยิบจับอะไร รวมทั้งพกเจล หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ทำความสะอาดไปด้วยทุกที่ หมั่นสเปรย์ทำความสะอาดมือ โต๊ะ เก้าอี้ ปุ่มกดลิฟท์ ลูกบิดประตู หรือแม้ว่าสเปรย์รอบตัวบ่อยๆ ไม่ว่าจะไปอยู่ในสถานที่ได้เพื่อเพิ่มความมันใจว่าคุณจะสะอาด และปลอดภัยจากเชื้อไวรัส และเชื้อโรคต่างๆ 

เจล และสเปรย์แอลกอฮอล์ที่ควรพกติดตัวไว้

AVIAAVIA สเปรย์แอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ Hand Sanitizer 70% ขนาด 18 มล.

ราคา 40 บาท

LA PEAK ALCOHOL GELLA’ PEAK สเปรย์แอลกอฮอล์ กลิ่นคูลล์มิ้นท์ ขนาด 45 มล.

ราคา 99 บาท พิเศษ 79 บาท (SAVE 20%)

IRAแอลกอฮอล์ชนิดเจล แบบหลอด ขนาด 25 มล.

ราคา 49 บาท 

4. รักษาระยะห่าง

SOCIAL DISTANCING

การรักษาระยะห่าง หรือ Social Distancing ในที่สาธารณะที่ปลอดภัยจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณต้องเตือนตัวเองอยู่เสมอ เป็นความจริงที่เราคงไม่สามารถเว้นระยะห่างได้อยู่ตลอดเวลา แต่การเว้นระยะห่างช่วยให้คุณอุ่นใจว่าคุณไม่ได้เข้าใกล้ผู้อื่นจนเกินไป เพราะเราไม่มีวันทราบได้ว่าใครมีเชื้อโรคอะไรบ้างอยู่ติดตัว แม้ว่าผู้นั้นจะไม่ได้มีอาการป่วย หรือติดเชื้อไวรัสก็ตาม

5. อยู่ในที่โปร่ง และมีอากาศถ่ายเท

AIRY PLACE

พยายามอย่าผลักดันตัวเองไปอยู่ในที่แออัด หนาแน่น เช่น ในตลาดนัด เทศกาลคอนเสิร์ต งานเลี้ยง ผับ บาร์ หรือโรงภาพยนตร์ เพราะการอยู่ในที่ที่มีคนพลุกพล่าน อากาศถ่ายเทไม่สะดวก มีโอกาสเสี่ยงสูงที่คุณจะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ พยายามอยู่ในพื้นที่เปิดโล่งและอากาศถ่ายเทสะดวก หากอยู่ในห้อง ควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท

เรื่องง่ายๆ กับการป้องกันตัวพื้นฐานที่ทุกคนทราบกันดี คือ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ใส่หน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง เป็นสิ่งที่เราคนไทยต้องปฏิบัติกันต่อไปหากไม่อยากติดโควิด-19

ครบถ้วนกระบวนความ และชัดเจนที่สุดกับการทำความรู้จักเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ล่าสุด โอมิครอนสายพันธุ์ BA.2 และสายพันธุ์อื่นๆ ว่ามีอาการแตกต่างกันอย่างไร พร้อมวิธีการรับมืออย่างมีประสิทธิภาพ Central Inspirer ขอให้ทุกคนไม่หย่อนยานการดูแลตัวเอง อย่าเคยชิน อย่าชินชา และละเลยกับการป้องกันตัว เพื่อให้เราทุกคนแข็งแรงและปลอดภัย แล้วเราทุกคนจะผ่านไวรัสร้ายไปด้วยกันค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก: medicallinelab.co.th / thairath.co.th / voathai.com

Picture credit: who.int / thairath.co.th/ sanook.com/ synphaet.co.th/