Get to Know! เรียนรู้วิธีป้องกันเด็กจมน้ำ

การจมน้ำเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญในการเสียชีวิตของเด็กที่เราพบเห็นในข่าวอยู่บ่อยๆ นับเป็นข่าวที่ทำให้รู้สึกสลดหดหู่หัวใจ เด็กน้อยวัยกำลังสดใสน่ารักกลับต้องมาเสียชีวิตจากการเล่นน้ำ หรือพลัดตกน้ำ เรามักจะเห็นข่าวเด็กพลัดตกน้ำ หรือจมน้ำเสียชีวิตในช่วงเวลาที่เด็กปิดเทอม ในวันหยุดที่ผู้ปกครองพาเด็กๆ ไปเที่ยวทะเล หรือเกิดกับเด็กมีที่พักอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ 

เด็กก็คือเด็ก ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กๆ ที่ว่ายน้ำไม่เป็น หรือเป็นเด็กโตที่ว่ายน้ำเป็นแล้ว โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุทางน้ำสำหรับเด็กสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ และคนที่เสียใจที่สุดในชีวิตนั้นคือ คุณพ่อคุณแม่ เราคนอ่านข่าวก็พลอยรู้สึกปวดร้าวใจแทนไปด้วย ช่วงนี้เด็กๆ อยู่บ้านเรียนออนไลน์ หรือไม่ก็อาจใกล้ปิดเทอมเข้ามาทุกที Central Inspirer จึงขอแนะนำ 10 วิธีป้องกันเด็กจมน้ำ เรื่องสำคัญแบบนี้คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรพลาดนะคะ

10 วิธีป้องกันเด็กจมน้ำ

1. เด็กๆ ควรอยู่ห่างจากแหล่งน้ำ

1 HOUSE BY THE RIVER

ถึงแม้ว่าจะเลี่ยงไม่ได้เพราะมีบ้านอยู่ริมแม่น้ำ หรือใกล้แห่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กหรือเด็กโต คุณพ่อคุณแม่และผู้ใหญ่ภายในบ้านควรคอยจับตาดูเด็กๆ ควรให้เด็กๆ อยู่ห่างจากห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ สระน้ำ หรือแหล่งน้ำอื่นๆ เพื่อป้องกันการเล่นสนุกริมน้ำ และลื่นตกน้ำโดยคาดไม่ถึง หากมีบ้านอยู่ริมน้ำ หรือใกล้แหล่งน้ำ ควรบอกผู้ใหญ่ทุกคนภายในบ้านให้ช่วยกันสอดส่องดูแลระวังไม่ให้เด็กไปอยู่ริมน้ำอย่างเด็ดขาด ควรปิดทุกช่องทางไม่ให้เด็กเข้าใกล้แหล่งน้ำได้

2. ผู้ใหญ่ควรเล่นน้ำกับเด็กๆ ไม่ปล่อยให้เด็กเล่นน้ำคนเดียว

6 SWIM WITH KID

คุณพ่อคุณแม่อาจมีแผนพาลูกน้อยไปเที่ยวทะเล หรือไปเที่ยวที่ไหนที่มีสระว่ายน้ำ หรือมีแหล่งน้ำ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกน้อยเล่นน้ำคนเดียวอย่างเด็ดขาด ควรจะเล่นน้ำกับลูกด้วย ต้องอยู่ในระยะที่สามารถเอื้อมถึงตัวเด็ก และสามารถช่วยเหลือเด็กๆ จากการจมน้ำได้อย่างถูกวิธีและทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็นการเล่นน้ำริมชายทะเล หรือในสระเด็ก เพราะอาจเกิดอาการพลาดพลั้ง หรือสิ่งที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้ หนูน้อยอาจเดินลงไปในทะเลที่มีคลื่นแรง หรือเดินไปเล่นน้ำที่สระผู้ใหญ่ ทำให้ช่วยตัวเองไม่ได้และเกิดการจมน้ำขึ้น เมื่อเด็กเล่นน้ำไม่ว่าจะว่ายน้ำเป็นหรือไม่เป็น คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ใหญ่ไม่ควรปล่อยให้เด็กคลาดสายตา ควรอยู่ในน้ำกับเด็ก และไม่ควรอยู่ห่างเด็กเกินไปจนช่วยเหลือไม่ทัน

3. พาเด็กๆ ไปเรียนว่ายน้ำ

3 SWIMMING LESSON

เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในการป้องกันเด็กๆ จากการจมน้ำ คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปเรียนว่ายน้ำ อายุเฉลี่ยสำหรับเด็กๆ ที่สามารถเรียนว่ายน้ำอยู่ระหว่าง 4-5 ขวบ แต่อายุน้อยกว่านั้นก็สามารถทำได้ การเรียนว่ายน้ำนอกจากจะดีต่อการเสริมสร้างพัฒนาการร่างกายแล้ว ยังมีประโยชน์เพราะช่วยให้เด็กว่ายน้ำเป็นและรู้จักเอาตัวรอดในน้ำ แต่อย่างที่บอกไป เด็กก็คือเด็ก เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ เด็กอาจมีความตกใจ เด็กๆ อาจพยายามตะเกียกตะกาย แต่คงทรงตัวอยู่ได้ไม่นาน อย่างไรก็ตาม การพาลูกไปเรียนว่ายน้ำให้เป็นน่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่สบายใจ และลูกน้อยน่าจะปลอดภัยกว่าการว่ายน้ำไม่เป็นนะคะ

4. เด็กต้องสวมห่วงยาง หรือเสื้อชูชีพตลอดเวลา

4 LIFE JACKET

ไม่ว่าคุณจะพาเด็กๆ ไปเล่นน้ำที่ไหน หรือเดินทางทางน้ำ ต้องไม่ลืมให้เด็กๆ สวมห่วงยาง หรือเสื้อชูชีพอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะเล่นน้ำอยู่ชายหาดก็ประมาทไม่ได้ เดี๋ยวนี้มีผลิตภัณฑ์ที่ช่วยพยุงตัวในการลอยน้ำสำหรับเด็กมากมายให้คุณพ่อคุณแม่เลือกหามาให้ลูกใส่ ที่สำคัญทั้งห่วงยาง ห่วงแขน หรือเสื้อชูชีพ เด็กน้อยต้องใส่ได้อย่างพอดีตัวไม่หลวม หรือคับจนเกินไป เพื่อช่วยป้องกันเด็กๆ ให้ปลอดภัยยามเล่นน้ำ หรือพลัดตกน้ำ

ผลิตภัณฑ์เพื่อการลอยตัวสำหรับเด็ก

KID DROWNING ITEM 1 BBLUV LIFE JACKETBBLUV เสื้อชูชีพเด็กสําหรับว่ายน้ำ Näj (3-6 ปี) 

ราคา 1,790 บาท 

KID DROWNING ITEM 2 INTEXINTEX เสื้อชูชีพ ที่สวมแขน ขนาด 26X17 นิ้ว

ราคา 700 บาท 

KID DROWNING ITEM 3 JI LONG LIFE JACKETJI LONG ชูชีพเป่าลม มินเนี่ยน 

ราคา 450 บาท พิเศษ 383 บาท (SAVE 15%)

KID DROWNING ITEM 4 CITY TOYS PINK LIFE SAVERCITY TOYS ห่วงยางสอดขา Unikuni 

ราคา 299 บาท

 KID DROWNING ITEM 5 FLOAT ME SUMMERFLOAT ME SUMMER ปลอกแขนว่ายน้ำสำหรับเด็ก ลายปู

ราคา 399 บาท พิเศษ 309 บาท (SAVE 23%)

KID DROWNING ITEM 6 JI LONGJI LONG ห่วงยางขาสอด ลายสไปเดอร์แมน

ราคา 450 บาท พิเศษ 383 บาท (SAVE 15%)

KID DROWNING ITEM 7 GRANDSPORT GRANDSPORT โฟมว่ายน้ำ ลายการ์ตูน สีเขียว (343121)

ราคา 235 บาท พิเศษ 190 บาท (SAVE 19%)

5. เด็กควรวอร์มกล้ามเนื้อก่อนเล่นน้ำ

5 WARM UP

ก่อนปล่อยให้เด็กๆ เล่นน้ำ หรือว่ายน้ำ ควรให้พวกเขาฝึกยืดกล้ามเนื้อ สะบัดแขนสะบัดขา และวอร์มร่างกายก่อนลงเล่นน้ำตามแหล่งน้ำต่างๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายเป็นตะคริวซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการจมน้ำได้

6. ความลึกของแหล่งน้ำ

7 DEEP

หากปล่อยให้เด็กๆเล่นน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ทะเล แม่น้ำ ลำคลอง ลำธาร หรือแอ่งน้ำในน้ำตก ควรสำรวจความลึกของแหล่งน้ำเหล่านั้น รวมไปถึงดูสิ่งกีดขวางต่างๆ เช่น โขดหิน เปลือกหอย กิ่งไม้ใต้น้ำ และอื่นๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็กแต่ไม่ว่าน้ำจะตื้นแค่ไหน การจมน้ำอาจเกิดขึ้นได้หากเป็นเด็กเล็ก สำหรับเด็กโตที่ลงเล่นน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ ควรรีบให้เด็กขึ้นจากน้ำทันทีที่เห็นน้ำขุ่นแดงไหลมาตามน้ำ เพราะอาจเกิดน้ำหลากเฉียบพลัน หรือ Flash Flood ได้

7. ห้ามให้เด็กกระโดดลงไปช่วยเพื่อนที่กำลังจมน้ำ 

8 JUMP

ไม่ว่าเด็กจะว่ายน้ำแข็งแค่ไหนก็ตาม เมื่อมีเหตุการณ์คนกำลังจะจมน้ำ หรือเพื่อนๆ ของเด็กกำลังจะจมน้ำ ต้องสอนให้เด็กห้ามกระโดน้ำลงไปช่วยเหลืออย่างเด็ดขาด ควรตะโกนดังๆ เรียกให้ผู้ใหญ่มาช่วย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุซ้ำซ้อน และหากทำของตกน้ำ ต้องระวังไม่ปล่อยให้เด็กเก็บของเอง ควรสอนเด็กๆ ว่าหากมีของตกน้ำ ควรเรียกให้ผู้ใหญ่ช่วยเก็บของให้จะปลอดภัยที่สุด 

8. สอนให้เด็กใช้ยุทธวิธี “ตะโยน โยน ยื่น” 

9 SHOUT

เป็นขั้นตอนที่ถูกต้องในการช่วยเหลือคนจมน้ำสำหรับเด็กและบุคคลทั่วไปคือ เมื่อพบเห็นเหตุการณ์จมน้ำ ให้ตะโกนเรียกคนอื่นมาช่วย ไม่ควรกระโดดลงไปช่วยเอง จากนั้นให้โยนสิ่งของที่ช่วยพยุงร่างกายให้คนที่จะจมน้ำยึดเกาะ เช่น ถังแกลลอนพลาสติกเปล่าปิดฝาสนิท หรือขวดน้ำพลาสติกเปล่าปิดฝาสนิท และสุดท้ายคือยื่นวัสดุที่ให้คนที่กำลังจมน้ำจับ และสามารถฉุดดึงได้ เช่น ไม้ หรือเชือก เป็นต้น ทั้ง 3 ขั้นตอนนี้คือ การตะโกน โยน และยื่น เด็กๆ สามารถดำเนินการได้ แต่ต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยื่นสิ่งของให้ผู้ที่กำลังจมน้ำจับ เพราะอาจเกิดกรณีผู้ประสบภัยจับเชือก หรือไม้ได้แล้วกระชากทำให้เด็กพลัดตกลงไปในน้ำด้วยก็เป็นได้

9. สังเกตป้ายเตือนก่อนเล่นน้ำ

10 SIGNAGE

ก่อนปล่อยให้เด็กๆ เล่นน้ำที่ใด ควรสังเกตป้ายเตือน ธงเตือน สังเกตป้ายกำกับอันตรายบริเวณแหล่งน้ำ และปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัดทุกครั้ง ไม่ใช่ทุกแหล่งน้ำจะปลอดภัย บางฤดูกาลอามีคลื่นใต้น้ำ หรือสถานะการณ์น้ำวนที่รุนแรง ต้องพยายามมองหาป้ายเตินทุกครั้งก่อนปล่อยเด็กๆ เล่นน้ำ

10. สังเกตลักษณะอากาศ และแหล่งน้ำ

11 STONG CURRENT

เมื่อเวลาเราพาลูกไปเล่นน้ำ ไม่ว่าจะเป็นทะเล แม่น้ำ ลำคลอง ควรสังเกตสภาพภูมิอากาศ สังเกตว่าฝนกำลังใกล้ตกหรือไม่ ฟ้ามืดครึ้มหรือเปล่า หรือมีพายุฝนฟ้าคะนอง สังเกตความแรงของกระแสน้ำ มีคลื่นแรงหรือไม่ก่อนลงเล่นน้ำ แม้แต่จะเล่นบริเวณชายหาด คลื่นแรงๆ ที่เข้ากระทบฝั่งอาจทำให้เด็กๆ มีอันตรายทางน้ำได้

10 ข้อสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ใหญ่ควรจำไว้ และระมัดระวังเมื่อคุณมีเด็กๆ อยู่ที่บ้าน มีบ้านอยู่ริมน้ำ หรือไปท่องเที่ยวทางน้ำกับเด็กเล็ก คุณจะเผลอไผลไม่ได้ ไม่ควรคลาดสายตา อย่าว่าแต่แหล่งน้ำใหญ่ๆ เลย ยังมีแหล่งน้ำอีกมากมาย เช่น อางน้ำในห้องน้ำ โถส้วม  กาละมัง  โอ่งน้ำ หรือบ่อปลาในบ้านที่เด็กๆ จะสามารถพลัดตกและจมน้ำได้ อย่าปล่อยให้เด็กอยู่ใกล้แหล่งน้ำโดยลำพังแม้เพียงชั่วครู่เดียวก็ไม่ได้ ควรจัดสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กให้ปลอดภัย ปิดประตูห้องน้ำ  กั้นรั้วจากแหล่งน้ำ หรือเทน้ำออกจากภาชนะทันทีที่ไม่ใช้แล้ว มีอีกหลากหลายวิธีที่ผู้ใหญ่ทำได้

Central Inspirer ไม่ได้มีความตั้งใจให้คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ใหญ่รู้สึกหดหู่หรือวิตกกังวลจนเกินไปสำหรับการดูแลเด็กน้อยไม่ให้จมน้ำ เพียงอยากให้คุณระลึกไว้ทุกครั้งที่พาเด็กๆ ไปใกล้เเหล่งน้ำ สิ่งไม่คาดฝันอาจเกิดขึ้นได้ เราควรระมัดระวังภัยไม่ไห้ฝันร้ายเกิดขึ้นค่ะ 

ขอบคุณข้อมูลจาก: sanook.com / trueplookpanya.com / upliftingmayhem.com

Picture credit: pinterest.com / flickr.com