Get to Know! นิ้วล็อค อาการออฟฟิศซินโดรมยอดฮิต ที่รักษาได้

หลังจากที่ชีวิตของเราทุกคนต้องหยุดชะงักจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 มาอย่างเป็นเวลายาวนาน ต้องเก็บตัวอยู่กับบ้าน ต้องทำงานทำการกับแบบ Work form Home ไม่ได้เข้าออฟฟิศกันมานานแล้ว

วันนี้เหมือนสถานการณ์ทุกอย่างดูดีและคลี่คลายขึ้น ผู้คนส่วนมากกลับเข้าไปทำงานกันเกือบ 100% หลายออฟฟิศอาจจะยังมีการสลับสับเปลี่ยนกันเข้าทำงาน แต่ทุกสิ่งอย่างก็เพื่อความปลอดภัยของทุกคน

หลังจากที่เราต้องกลับมาทำงานอย่างเต็มรูปแบบแล้ว สิ่งที่ตามมาคือ เราต้องตั้งใจทำงานกันอย่างเต็มที่ ทำงานกันอย่างขยันขันแข็ง หลายคนทำงานกันถึงดึกดื่นค่ำคืน เพียงเพราะอยากให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้อย่างเจริญก้าวหน้า ให้กลับมาพื้นตัวอย่างรวดเร็ว ชีวิตคนทำงานจะได้กลับมาเป็นปกติและมีความสุขกันอีกครั้ง

สิ่งที่มาพร้อมกับการทำงานหนักคือ สุขภาพที่ทรุดโทรม หลายคนมีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยร่างกาย ปวดคอ ปวดไหล่ รวมทั้งอาการยอดฮิตโดยเฉพาะสำหรับคนที่ต้องทำงานด้วยคอมพิเตอร์อยู่ตลอดเวลา นั่นคือ อาการนิ้วล็อค ที่สร้างความปวดร้าว ใช้นิ้วมือไม่ถนัด ซึ่งมีผลกับการทำงานอย่างแน่นอน

วันนี้ Central Inspirer อยากเอาใจคนทำงานที่เริ่มมีอาการนิ้วล็อค มาดูกันว่านิ้วล็อคคืออะไร มีอาการเป็นอย่างไร ใครมีความเสี่ยงที่จะมีอาการนิ้วล็อค และวิธีรักษาว่าทำได้อย่างไรบ้าง คนทำงานออฟฟิศ ควรคนที่ทำงานหนักด้วยการใช้นิ้วทำความรู้จักกับโรคนิ้วล็อคไว้นะคะ

“นิ้วล็อค” คืออะไร

TRIGGER FINGER

อาการนิ้วล็อค หรือ Trigger Finger คือ หนึ่งในอาการคนคนทำงานออฟฟิศ หรือ Office Syndrome เป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดออกได้อย่างปกติ มีอาการปวด ขยับเขยื่อนนิ้วแล้วจะปวดมาก งอหรือเหยียดนิ้วออกเองไม่ได้ในขณะที่ต้องการเคลื่อนไหวข้อนิ้ว อาการนิ้วล็อคอาจเกิดขึ้นนิ้วเดียว หรือหลายนิ้ว ภาวะนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่ปลอกเอ็นบริเวณข้อโคนนิ้วหนาตัวขึ้น เอ็นบวม ทำให้ปลอกรัดเอ็นมากขึ้น 

นิ้วล็อค เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทั่วไปที่ต้องใช้มือจับสิ่งของ หรืออุปกรณ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่องบ่อยๆ เป็นเวลานาน ซึ่งไม่มีอันตรายใดๆ เพียงแต่ให้ความรู้สึกเจ็บปวด ใช้มือได้ไม่ถนัด และทำให้การใช้ชีวิตติดขัด เป็นอุปสรรคในการใช้นิ้วมือ นิ้วล็อคเป็นโรคที่สามารถป้องกันและรักษาให้หายได้

สาเหตุของอาการนิ้วล็อค

นิ้วล็อค เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วที่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว ทำให้นิ้วขยับได้ไม่ดี งอข้อนิ้วมือแล้วไม่สามารถเหยียดกลับคืนได้เหมือนเดิม  มีความรู้สึกเหมือนนิ้วถูกล็อกไว้ 

สาเหตุของนิ้วล็อคอาจเกิดจากการใช้แรงงอนิ้วมากๆ หรือกำนิ้วแน่นมากๆ ทำให้เกิดการเสียดสีบริเวณปลอกหุ้มเอ็นมาก ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลง หรือการเสื่อมของเซลล์ร่วมด้วย อาการนิ้วล็อคมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบได้บ่อยร่วมกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และรูมาตอยด์

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงเป็นโรคนิ้วล็อค

คนที่มีความเสี่ยงในการเป็นนิ้วล็อค มีดังต่อไปนี้

  1. ผู้ที่ต้องทำงานด้วยการใช้มือและนิ้ว โดยการทำงานมีลักษณะต้องเกร็งนิ้วมือบ่อยๆ หรือตลอดเวลา เช่น พนักงานออฟฟิศ แม่บ้าน แม่ครัว คนทำอาหาร ช้างไฟฟ้า ช่างไม้ ช่างโทรศัพท์ ช่างทำผม ทันตแพทย์ คนสวน หรือเกือบทุกคนที่ต้องใช้นิ้ว หรือเกร็งนิ้วในการทำงานอยู่เป็นประจำ และเป็นระยะเวลายาวนาน
  2. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคเก๊าท์ หรือโรครูมาตอยด์ เป็นต้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนิ้วล็อกมากว่าคนปกติทั่วไป

อาการของนิ้วล็อค

อาการของโรคนิ้วล็อค แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 

1. ระยะแรก 

อาการในระยะแรก ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเป็นอาการหลัก โดยจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ และจะมีอาการปวดมากขึ้น ถ้าเอานิ้วกดบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้า แต่ยังไม่มีอาการติดสะดุดแต่อย่างใด

2. ระยะที่สอง 

มีอาการสะดุด หรือ Triggering เป็นอาการหลัก และอาการปวดก็มักจะเพิ่มมากขึ้นด้วย เวลาขยับนิ้ว งอ และเหยียดนิ้วจะมีการสะดุดจนรู้สึกได้ 

3. ระยะที่สาม 

มีอาการติดล็อคข้องนิ้วเป็นอาการหลัก โดยเมื่องอนิ้วมือลงแล้ว จะติดล็อกจนไม่สามารถเหยียดนิ้วออกเองได้ ต้องเอามืออีกข้างมาช่วยเหยียด หรืออาจมีอาการมากขึ้นจนไม่สามารถงอนิ้วลงได้เอง 

4. ระยะที่สี่ 

มีการอักเสบ ข้อนิ้วบวมมาก จนนิ้วติดอยู่ในท่างอ ไม่สามารถเหยียดให้ตรงได้ ถึงแม้ว่าจะให้มืออีกข้างนึงมาช่วยเหยียดก็ตาม

การรักษาอาการนิ้วล็อค

HOW TO CURE TRIGGER FINGER

การรักษานิ้วล็อค แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ 

วิธีที่ 1 การรักษาโดยการฉีดยา (Steriod Injection)

การรักษาอาการนิ้วล็อคในผู้ป่วยที่เป็นตั้งแต่ระยะแรกๆ มักแนะนำให้ผู้ป่วยฉีดยาสเตียรอยด์บริเวณโคนนิ้วมือ ซึ่งจะให้ผลดี และช่วยให้หายกว่าร้อยละ 60 ขึ้นไป ในบางราย สามารถบรรเทาและหายปวดได้ถึงกว่าร้อยละ 70 ส่วนที่เหลือ ร้อยละ 30 – 40 อาการนิ้วล็อกจะกลับมาเป็นอีกได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และการใช้งานนิ้วมือ ในกลุ่มที่กลับมาเป็นใหม่นี้ แพทย์จะแนะนำให้ฉีดยาสเตียรอยด์ซ้ำได้ 2 – 3 ครั้ง แต่โอกาสที่จะดีขึ้น และหายจะมีน้อยลง ศัลยแพทย์ออร์โทพีดิกส์ (Orthopedic Surgeons) หรือศัลยแพทย์ด้านกระดูก จะแนะนำให้ทำการผ่าตัดรักษาจะดีกว่า เพราะการฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ซ้ำ หลายครั้ง นอกจากจะไม่ทำให้อาการดีขึ้น และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้เอ็นขาดได้อีกด้วย

วิธีที่ 2 การรักษาโดยการผ่าตัด แบ่งออกได้เป็น 2 วิธี

  • การผ่าตัดแบบเปิด (Open Surgery)

เป็นวิธีมาตรฐาน โดยฉีดยาชาเฉพาะที่มีแผลผ่าตัด เพื่อกรีดผ่าปลอกหุ้มเอ็น เสร็จแล้วกลับบ้านได้ แต่หลังผ่าตัดต้องหลีกเลียงการใช้งานหนักและการสัมผัสแผลประมาณ 2 สัปดาห์

  • การผ่าตัดแบบปิด (Percutaneous Surgery)

เป็นการผ่าตัดโดยการใช้เข็มเขี่ย หรือสะกิดปลอกหุ้มเอ็นออกผ่านผิวหนังแทบไม่มีแผลให้เห็น แต่อาจมีอันตรายต่อเส้นเอ็นและเส้นประสาทที่อยู่บริเวณข้างเคียง ทำให้เกิดอาการปวดแผลเวลาขยับนิ้วมือ ข้อนิ้วติดแข็ง มีอาการชาปลายนิ้ว

การป้องกันตัวจากอาการนิ้วล็อค

  1. ต้องไม่หิ้วของหนักบ่อยๆ หรือเป็นเวลานานๆ  เช่น หิ้วถุงพลาสติกใส่ หรือตะกร้าใส่ของ หิ้วถังน้ำ หากมีความจำเป็นต้องหิ้ว ควรมีผ้าขนหนูรองรับไว้ที่หูหิ้ว และให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ แทนที่นิ้ว หรือใช้วิธีอุ้มประคอง หรือนำใส่รถลาก แทนการใช้นิ้วมือหิ้ว
  2. หากต้องซักผ้า ไม่ควรบิดผ้าแรงๆ เพราะจะทำให้ปลอกหุ้มเอ็นบวม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอาการนิ้วล็อก ควรซักผ้าด้วยเครื่องจะปลอดภัยกว่า
  3. นักกีฬา ประเภทนักกอล์ฟ ที่ต้องตีลูกแรงๆ หรือตีไกล ควรหลีกเลี่ยงใช้ก้านเหล็กตีกอล์ฟขณะปวด ควรเปลี่ยนก้านไม้กอล์ฟเป็นก้านไฟเบอร์ชั่วคราว จะเป็นการดีกว่า
  4. หลีกเลี่ยงการทำงานที่มีแรงสั่นสะเทือน หรือควบคุมเครื่องจักร เช่น ไขควง กรรไกรตัดกิ่งไม้ เลื่อย ค้อน ควรใส่ถุงมือ หรือหุ้มด้ามจับให้นุ่มขึ้น
  5. ควรหลีกเลี่ยงการยกของด้วยมือเปล่า และควรใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถเข็น รถลาก งานที่ต้องทำต่อเนื่องนานๆ และควรพักมือเป็นระยะๆ

ท่าบริหารนิ้วมือเพื่อลดความเสี่ยงจากนิ้วล็อค

หากคุณรู้สึกว่าเริ่มมีอาการนิ้วล็อค หรือมั่นใจว่าเป็นนิ้วล็อคแล้ว ลองบริหารนิ้วเพื่อบรรเทาอาการดังต่อไปนี้

1. ท่ายางยืด (Rubber Band Stretch) 

EXERCISE 1 RUBBER BAND

ท่านี้จะเน้นบริการนิ้วทุกนิ้วไปพร้อมๆ กันแนะนำให้ใช้หนังยางเส้นใหญ่เพื่อจะได้มีแรงต้านที่พอดี โดยเริ่มต้นจาก

  • การเอาหนังยางมารัดกับนิ้วทุกนิ้ว
  • จากนั้นให้กางนิ้วทุกนิ้ว กางเข้าออกช้าๆ ไปมา ทำจำนวน 15-20 ครั้ง

2. ท่าดีนิ้วโป้ง (Finger-Thumb Circle Stretch)

EXERCISE 2 Finger-Thumb Circle Stretch

อาจเรียกท่านี้ว่าเป็นท่า “OK” โดยมีอาการเจ็บที่นิ้วไหน ก็ใช้นิ้วนั้นมารองไว้ที่ฐานนิ้วโป้ง แล้วดีดนิ้วที่เจ็บออกไป โดย

  • เริ่มต้นด้วยการนำนิ้วที่ล็อคหรือเจ็บมารองไว้ที่ฐานของนิ้วโป้ง
  • ก่อนดันออกให้กดนิ้ว เพิ่มแรงดันเข้าไปแล้วนับค้างไว้ 1 ถึง 5 แล้วปล่อยนิ้วออก
  •  ทำวนซ้ำไปประมาณ 10 ครั้ง

3. ท่าขยำบอล (Ball Exercise)

EXERCISE 3 BALL

ท่านี้จะช่วยให้เราบริหารมือทั้งมือ เริ่มด้วยการกำบอลให้แน่นที่สุด นับ 1 ถึง 3 แล้วปล่อย ทำวนไป 15 ครั้ง

ลูกบอลบริหารกล้ามเนื้อมือและนิ้ว

      SONY SS BALL PINK

SONY SS THAISPORTS ลูกบอลบริหารมือ SG-1088A น้ำหนัก 200 กรัม 

ราคา 250 บาท

SONY SS BALL BLKSONY SS THAISPORTS ลูกบอลบริหารมือ SG-1088B น้ำหนัก 400 กรัม 

ราคา 300 บาท พิเศษ 229 บาท (SAVE 24%)

COMEFREE LEMONCOMEFREE ลูกบอลบีบบริหารมือ

ราคา 290 บาท พิเศษ 261 บาท (SAVE 10%)

4. ท่าเหยียดนิ้วและฝ่ามือ (Fingers to Palm Stretch)

EXERCISE 4 Fingers to palm stretch

  • ท่านี้เริ่มจากการเหยียดนิ้วออกไปให้ตรงก่อน
  • จากนั้นให้ใช้นิ้ว 4 นิ้ว คือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย งอลงมาแตะที่ส่วนของฝ่ามือ คล้ายตะขอ
  • กำมือลง ในลักษณะของการห่อนิ้ว
  • กำแบบเหยียดปลายนิ้ว
  • จากนั้นก็เหยียดนิ้วทั้งหมดตรงกลับไปที่เดิม
  • แต่ละท่าให้ทำค้างไว้ นับ 1 ถึง 5 ทำ 10 ครั้ง 3 เซต

5. ท่ายืดกล้ามเนื้อมือ (Finger Stretching)

EXERCISE 5

ยื่นแขนไปข้างหน้าให้ตั้งฉากกับหัวไหล่ และใช้มืออีกข้างดัดฝ่ามือหาลำตัว ทั้งดัดขึ้นและลงค้างไว้ นับ 1 ถึง 10 ทำ 10 ครั้ง 3 เซต

หากคุณเป็นคนที่ต้องทำงานและใช้งานนิ้วมืออย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นคนทำงานออฟฟิศ หรืองานใดๆ อาการนิ้วล็อคอาจเกิดขึ้นได้แน่นอน มันไม่ใช่โรคที่สร้างความวิตกกังวลอย่างไร แต่มันสร้างความเจ็บปวด มีผลกับการใช้มือ ใช้นิ้ว และการดำเนินชีวิต ถึงแม้ว่าโรคนิ้วล็อคจะเป็นโรคเล็กๆ แต่การรักษาอาจยุ่งยาก และหายขาดยาก นอกจากการผ่าตัด การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ไม่ว่าจะโรคไหนๆ โรคเล็กๆ หรือโรคร้ายๆ ก็ขอให้ทุกคนปลอดภัย ไม่เจ็บ ไม่ป่วย และผ่านพ้นโรคภัยไปได้ Be Happy Be Healthy สุขภาพดีทุกคนคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก: sikarin.com / nonthavej.co.th / paolohospital.com

Picture credit: pinterest.com