Get to Know! รู้จักภาวะ Long Covid พร้อมวิธีป้องกัน ฟื้นฟูทำอย่างไร

ประชาชนชาวไทย และผู้คนทั่วโลกต่างหวาดผวากับโคโรน่าไวรัส หรือโควิด-19 มาเป็นเวลานานหลายปี โควิด-19 เป็นเชื้อไวรัสร้ายที่ยังคงแตกตัวเพิ่มสายพันธุ์ใหม่ และระบาดไปทั่วโลกอย่างไม่หยุดยั้ง แม้ว่าบางประเทศจะรู้สึกว่าการระบาดของไวรัสโควิด-19 เริ่มเบาบางและผ่อนคลายลง หลายประเทศเริ่มผ่อนปรน คลายกฏกติกาต่างๆ จากการป้องกันตัวจากโควิด-19 แต่ไวรัสร้ายก็ยังแพร่กระจายไปเรื่อยๆ

โควิด-19 ทำให้ผู้คนทั่วโลกตต้องหันมาปรับตัว หันมาใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ แบบ New Normal ต้องฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสให้ครบ ต้องใส่หน้ากากอนามัยอยู่ตลอดเวลา ต้องล้างมือบ่อยๆ และพกแอลกอฮอล์ทำความสะอาดไปด้วยทุกที่ แถมยังต้องเว้นระยะห่าง หรือ Social Distancing บอกเลยว่าชีวิตที่ผ่านมาอยู่ยากขึ้นเยอะ

มีผู้คนติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กันมากมายทั่วโลก หลายคนโชคดีรักษาหายได้ แต่มีคนอีกไม่น้อยที่ไม่มีโชค ต้องมาเสียชีวิตจากโรคร้าย เสมือนเป็นมัจจุราชที่ส่งมาจัดการกับชาวโลกเลยทีเดียว

การติดเชื้อโควิด-19 นับว่าเป็นโรคติดต่อที่ส่งผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพราะว่าหลังจากรักษาหายแล้ว หลายคนยังรู้สึกเหมือนยังไม่หายดี จนทำให้เกิดมีอาการของ Long Covid แล้วภาวะ Long Covid นั้นคืออะไร มีอาการเป็นอย่างไร ใครคือกลุ่มเสี่ยง แล้วเราจะปกป้องร่างกายและฟื้นฟูได้อย่างไร มาดูกันค่ะ

“Long Covid” คืออะไร

LONG COVID 1

Long Covid หรือ โควิดระยะยาว เป็นอาการเจ็บป่วย หรือ Post Covid Syndrome ที่มีลักษณะคล้ายกับช่วงที่ต้องรักษาตัวจากการติดเชื้อโควิด-19 ต้องกักตัวอยู่กับบ้าน หรือโรงพยาบาล ซึ่งส่งผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาว สาเหตุที่ทำให้ร่างกายเกิดภาวะ Long Covid นั่นเป็นเพราะหลังจากรักษาหายแล้ว หลายคนยังรู้สึกเหมือนยังไม่หายดีจากการติดเชื้อร่างกายจะถูกกัดกร่อนความสมบูรณ์ ทั้งจากการได้รับยาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน และจากเชื้อไวรัสที่เข้าทำลายระบบภายในร่างกาย โดยในแต่ละรายจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป ทำให้ผู้ที่หายป่วยบางรายยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติเป็นเวลานาน โดยมีอาการผิดปกติเป็นเวลาตั้งแต่ 1-3 เดือนขึ้นไป 

ในระหว่างการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ร่างกายของคนเราจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อไปจับกับเซลล์โปรตีนของบางอวัยวะ ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย เป็นผลให้อวัยวะนั้นๆ ได้รับความเสียหาย ส่งผลกระทบไปทั่วร่างกาย เช่น อาการปอดบวม หรือเนื้อปอดถูกทำลาย โดยระดับความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับความรวดเร็วในรักษา และการกำจัดเชื้อโควิดในร่างกาย โดยกระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า สามารถพบอาการ Long Covid ได้ถึง 30-50% สาเหตุหลักมาจากความเครียดสะสม หรือเป็นผลข้างเคียงของยาที่ใช้ เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ โรคแฝง หรือบางรายอาจติดเชื้อโควิดซ้ำแต่คนละสายพันธุ์ เป็นต้น

อาการของ Long Covid

LONG COVID SYMTHOM

องค์การอนามัยโลก หรือ World Health Organization (WHO) ให้ข้อมูลว่า อาการ Long COVID มีความเป็นไปได้ที่หลากหลายมาก มีทั้งอาการที่คล้ายกับตอนเป็นโควิด-19 และอาการที่ดูไม่เกี่ยวข้องกันเลย อย่างไรตาม มีลักษณธอาการร่วมที่พบได้บ่อยที่สามารถนำมาสรุปได้ดังนี้  

  • มีอาการลิ้นชา ได้กลิ่นน้อยลง และการรับรสชาติอาหารไม่เหมือนเดิม
  • มีภาวะสมองล้า อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และร่างกายไม่สดชื่น
  • หายใจถี่ หรือหายใจไม่ทัน หอบเหนื่อยง่าย
  • มีอาการใจสั่น รู้สึกแน่นหรืออึดอัดบริเวณหน้าอก
  • ความจำสั้น สมาธิสั้น หรือรู้สึกสมองล้า
  • มีไข้ ไอ ปวดหัว และเจ็บคอ
  • ปวดตามข้อต่อต่างๆ
  • ระคายเคืองบริเวณดวงตา และมีน้ำตาไหล
  • นอนไม่หลับ หรือหลับยาก
  • มีอาการเวียนศีรษะ
  • ปวดท้อง ท้องเสีย ไม่อยากอาหาร หรืออาหารไม่ย่อย
  • มีผื่นขึ้นตามตัว
  • อาจมีภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวล

สาเหตุของภาวะ Long Covid

สาเหตุของอาการ Long Covid นั้นยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน แต่มีข้อสันนิษฐานของสาเหตุที่เกิดอาการดังต่อไปนี้

1. เชื้อโควิด-19 อาจทิ้งร่องรอยความเสียหายในอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย 

ด้วยสาเหตุนี้ทำให้อวัยวะที่เกิดความเสียหายนั้นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เช่น หากเกิดความเสียหายที่บางส่วนของสมอง อาจทำให้เกิดภาวะสมองล้า หรือ Brain Fog Syndrome หรือหากมีความเสียหายที่ปอด ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติเวลาหายใจ เช่น หายใจถี่ หายใจไม่คล่อง หายใจไม่ลึก หรือเกิดอาการเหนื่อยหอบง่าย เป็นต้น

2. เกิดการทำงานของภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติไป 

การทำงานของภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติอาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงดีมาก แต่กลายเป็นว่าเมื่อหายป่วยจากโควิด-19 แล้ว ภูมิคุ้มกันอาจหันมาทำลายเซลล์ในร่างกายของตัวเราเองได้

3. ยังหลงเหลือชิ้นส่วนของไวรัสโควิด-19 ในร่างกาย 

ชิ้นส่วนของไวรัสโควิด-19 ซึ่งอาจเป็นชิ้นส่วนที่ไม่ทำงานแล้ว หรือยังทำงานได้อยู่ ส่งผลให้ไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันของเราให้ต่อต้าน จนมีอาการป่วยเกิดขึ้น

ใครคือกลุ่มเสี่ยงของ Long Covid

ผู้ที่ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงของภาวะ Long Covid มีดังต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19 และมีภาวะปอดอักเสบรุนแรง 
  • ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ ที่มีอายุกว่า 60 ปีขึ้นไป มักเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน หรือมีน้ำหนักเกิน
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคไต โรคหอบหืด หรือโรคเบาหวาน ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ และผู้ที่เคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
  • ในกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่หนัก หรือผู้ป่วยติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ 

แนวทางป้องกัน Long Covid

โควิด-19 เป็นไวรัสร้ายที่เราจะประมาทไม่ได้ แม้จะได้รับวัคซีนป้องกันครบก็ตาม ดังนั้น จึงขอแนะนำแนวทางเบื้องต้นที่ควรปฏิบัติ เพื่อลดความเสี่ยง ทั้งจากภาวะรุนแรงของโรค และจาก Long Covid ดังต่อไปนี้

1. ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนโดยเร็วที่สุด

1 VACCINATED

หลายคนอาจเพิกเฉยต่อการเข้ารับการฉีดวัคซีน และยังคงมีสุขภาพดี บอกเลยว่าการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นเรื่องที่จำเป็น และสำคัญมาก ควรติดต่อเพื่อเข้ารับวัคซีนให้ครบ เดี๋ยวนี้คุณสามารถ walk-in และเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ ไม่ยุ่งยากแต่อย่างใด เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณเองค่ะ

2. ผู้มีโรคประจำตัวต้องดูแลตัวเอง

2 congenital disease

ผู้มีโรคประจำตัว เช่น  โรคความดันโลหิตสูง เส้นเลือดหัวใจตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยฟอกไต และปลูกถ่ายไต โรคหอบหืด ปอดอักเสบเรื้อรัง โรคตับแข็ง ตับอักเสบเรื้อรัง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และโรคอ้วน ต้องพยายามดูแลตนเอง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ให้อาการของโรคอยู่ในระดับที่ควบคุมได้

3. รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์

3 HEALTHY FOOD

ต้องเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ อาหารครบ 5 หมู่ ให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสม แล้วหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วงเวลาดังกล่าวอาจไม่เหมาะกับการออกกำลังกายข้างนอก ก็สามารถออกกำลังกายด้วยท่าง่ายๆ ในบ้านก็ได้

4. อย่าให้มีน้ำหนักเกิน

4 OVERWEIGHT

ผู้เป็นโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักเกิน อยู่ในกลุ่มเสียงอย่างมากในการมีภาวะ Long Covid ยิ่งหากเป็นผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19 แล้วอาการทุเลา หรือหายจากโรค อย่าได้มั่นใจ หากคุณยังรู้สึกว่าร่างกายยังไม่กลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม ดังนั้นควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม หรือปรึกษาแพทย์โดยทันที เพื่อไม่ให้ภาวะ Long Covid กลับมาหาคุณอีก

5. ทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส

5 HAPPY

จิตใจที่สดชื่นแจ่มใส ไม่เครียด ไม่วิตกกังวล สามารถช่วยป้องกันอาการของโรคได้ พยายามตรวจสอบภาวะจิตใจของตัวเอง ทำใจให้สงบเพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเข้ามา

แนวทางการฟื้นฟูภาวะ Long Covid

เมื่อรู้สึกว่าตัวเองมีอาการ Long Covid และได้ทำการปรึกษาแพทย์แล้ว แน่นอน แพทย์ต้องให้คุณกักตัวอยู่บ้านอีกประมาณ 7-14 วัน แล้วแต่ความแรงของโรค ในช่วงที่พักฟื้นรักษาตัวอยู่ที่บ้าน คุณต้องเน้นดูแลร่างกายเพิ่มเติม เพื่อลดผลกระทบจากการอักเสบ เพราะไวรัสโควิด-19 ได้ทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย

1. รับประมานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่

A 5 FOOD GROUPS

ต้องรับประทานอาหารที่ช่วยฟื้นฟูสุขภาพทุกมื้อ เลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีนมีส่วนช่วยในการซ่อม สร้าง และเสริม เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย จึงควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ ถั่วชนิดต่างๆ โดยกินในสัดส่วนที่เหมาะสมกับร่างกายในทุกมื้อ

นอกจากนี้ ควรรับประทานอาหารประเภทแป้งที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้องหอมมะลิ ขนมปังโฮลวีท เพื่อลดอัตราการดูดซึมน้ำตาลที่เร็วเกินไป หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลมาก เพราะน้ำตาลมีส่วนเพิ่มโอกาสของการอักเสบ รวมทั้งรับประทานผักสดและผลไม้มากๆ เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบ

2. ดื่มน้ำสะอาดวันละมากๆ

B WATER

น้ำสะอาดช่วยเยียวยาทุกสิ่ง ในระหว่างการฟื้นฟูร่างกาย ควรดื่มน้ำสะอาดในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน จากการศึกษาของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Academy of sciences – NAS) ประเทศสหรัฐอเมริกา และสถาบันแพทยศาสตร์ (The Institute of Medicine – IOM) ได้ให้คำแนะนำว่า ผู้หญิงควรดื่มวันละประมาณ 2.7 ลิตรต่อวัน หรือประมาณ 11.5 แก้ว และผู้ชายควรดื่มวันละประมาณ 3.7 ลิตรต่อวัน หรือประมาณ 15.5 แก้ว เพื่อช่วยชะล้างสารพิษในร่างกาย แถมช่วยให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ และมีสุขภาพดีอีกด้วย

ดื่มน้ำสะอาดทุกวัน

STEIBEL ELTRONSTIEBEL ELTRON เครื่องกรองน้ำ รุ่น GLACIER

ราคา 16,900 บาท 

PUREPURE เครื่องกรองน้ำ รุ่น DM-002

ราคา 8,570 บาท 

BRITABRITA ถังกรองน้ำ BRITA Flow ขนาด 8.2 ลิตร

ราคา 2,690 บาท

PHILIPS WATER

PHILIPS WATER เหยือกกรองน้ำช่วยลดสารตะกั่วความจุเหยือก รุ่น AWP2941WHTร ขนาด 3.4 ลิตร

ราคา 3,599 บาท พิเศษ 2,390 บาท (SAVE 34%)

3. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม 

C EXERCISE AT HOME

โดยปกติ ร่างกายของคนเราต้องการการออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน การออกกำลังกายเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการฟื้นฟูร่างกายให้กลับมามีสมรรถภาพเหมือนเดิมอีกครั้ง แม้ว่าการออกกำลังกายจะเป็นผลดีต่อร่างกาย แต่ในผู้พักฟื้นบางรายการออกกำลังกายบางอย่างอาจไม่เหมาะสมก็ได้ ดังนั้นในผู้ป่วยที่เพิ่งหายจากโควิด แต่อาจอยู่ในระยะ Long Covid จึงควรเลือกการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม โดยเริ่มจากการออกกำลังกายเบาๆ เน้นเคลื่อนไหวช้าๆ เดินลู่วิ่ง หรือขี่จักรยานไฟฟ้า หรือเล่นโยคะ อย่าพึ่งรีบไปออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงจนเกินไป  เพราะปอดหรืออวัยวะต่างๆ อาจยังมีส่วนที่เสียหายอยู่ ยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ควรออกกำลังกายเบาๆ ให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นก็พอ

อุปกรณ์ออกกำลังกายคุณภาพอยากแนะนำ

XIAOMIXIAOMI ลู่วิ่งไฟฟ้า 3 แรงม้า สามารถพับเก็บได้ รุ่น K12

ราคา 19,900 บาท พิเศษ 13,185 บาท (SAVE 34%)

GRANDLITE

GRANDLITE AM-146 จักรยานเอนปั่นระบบแม่เหล็ก

ราคา 35,900 บาท พิเศษ 16,900 บาท (SAVE 53%)

EASYOGAEASYOGA เสื่อโยคะ Premium Eco-care – สีฟ้าผสมเขียว

ราคา 2,680 บาท 

YOGATIQUEYOGATIQUE บอลโยคะ OE

ราคา 680 บาท 

XTIVEPROXTIVEPRO ยางยืดออกกำลังกาย แบบวงแหวน 75 กก.

ราคา 1,099 บาท พิเศษ 499 บาท (SAVE 55%)

4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

D SLEEP

การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการฟื้นฟูสุขภาพจากภาวะ Long Covid หากคุณทราบว่าตัวเองมีอาการ แน่นอนว่าแพทย์ต้องให้คุณกักตัวเพื่อฟื้นฟูร่างกายที่บ้าน ถือโอกาสนี้นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ โดยปกติคนเราควรนอนหลับเป็นเวลา 6-8 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับผู้พักฟื้น ควรถือโอกาสงีบในเวลากลางวัน หรือช่วงบ่ายๆ เพราะร่างกายจะซ่อมแซม และทำการฟื้นฟูในช่วงเวลาที่เรานอนหลับค่ะ

เครื่องนอนช่วยให้นอนหลับฝันดี

CANNONCANNON หมอนหนุนขนห่าน Goose Down & Feather

ราคา 5,990 บาท พิเศษ 2,995 บาท (SAVE 50%)

SIAMLATEXSIAMLATEX หมอนบอดี้ รุ่น Cuddle สีชมพู

ราคา 1,099 บาท พิเศษ 679 บาท (SAVE 38%)

PERFECTAPERFECTA ชุดผ้านวมป้องกันไรฝุ่น 90×100 นิ้ว (เตียง 6 ฟุต)

ราคา 4,400 บาท 

สรุปได้ว่าภาวะ Long Covid คือ ภาวะที่อาการของการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้นยังไม่หายขาด ยังทิ้งร่องรอย และอาการที่สามารถก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ ดังนั้น ท่านใดที่มีอาการ Long Covid ควรทำร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง แม้รู้สึกว่าร่างกายทำงานได้ไม่ดีเหมือนแต่ก่อน ส่งผลต่อสมรรถภาพและการใช้ชีวิตประจำวัน จนทำให้จิตใจไม่สดชื่นแจ่มใส เต็มไปด้วยความเครียด

Central Inspirer ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่ติดเชื้อโควิด-19 และมีภาวะ Long Covid ดูแลร่างกายของคุณให้สมบูรณ์แข็งแรง รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และไม่ลืมดื่มน้ำสะอาดมากๆ ที่สำคัญคือ จิตใจต้องแข็งแกร่ง ไม่ทุกข์ ไม่เครียด รับรองได้ว่าความเจ็บป่วยของคุณจะหายไป แล้วกลับมาเป็นคุณที่แข็งแรงสมบูรณ์เหมือนเดิม สู้ๆ Stay Strong & Be Healthy ค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก: theworldmedicalcenter.com / praram9.com

Picture credit: pinterest.com