เข้าสู่หน้าร้อน [Summer] กันอีกครั้ง เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่หลายๆ คนต้องมองหาตัวช่วยเพื่อให้บ้านของเราเย็นสบายขึ้น ซึ่งหนึ่งในวิธีนั้นก็คือการติดตั้ง “แอร์” เอาไว้ในห้องนั่นเอง เพราะเป็นวิธีที่ง่าย แถมยังตอบโจทย์ได้ดีอีกด้วย แต่หลายๆ คนมักประสบปัญหาในการเลือกแอร์สักรุ่นมาติดตั้งที่ห้อง เพราะไม่รู้ว่าต้องเลือก BTU ขนาดเท่าไหร่จึงจะเหมาะกับห้องของตัวเอง ดังนั้น เพื่อขจัดปัญหาให้หมดไป มาดามจึงได้หาวิธีง่ายๆ มาให้คุณแล้วจะมีอะไรบ้างนั้น ตามมาดามมาดูกันเลย
BTU คืออะไร?
ก่อนจะไปเข้าเรื่องราวของเราในวันนี้ เท่าที่มาดามสำรวจมา คำถามที่หลายคนมักสงสัยเกี่ยวกับแอร์ก็คือ “BTU คืออะไร?” ดังนั้นเรามาตอบคำถามนี้กันก่อนเลยค่ะ….โดยมาดามได้รวบรวมนิยามของหลายๆ คนแล้วตกตะกอนเป็นสิ่งที่มาดามเข้าใจดังนี้ค่ะ
BTU จริงๆ แล้ว ไม่ใช่คำเต็มๆ นะคะ แต่เป็นคำย่อมาจาก British Thermal Unit หรือถ้าแปลเป็นไทยง่ายๆ ก็คือ “หน่วยวัดความร้อนตามมาตรฐานสากล” แต่ในกรณีที่นำมาใช้กับเครื่องปรับอากาศ จะเป็นความสามารถในการทำความเย็นของแอร์เครื่องนั้นนั่นเอง โดย 1 BTU ก็คือ ปริมาณของความร้อนที่ทำให้น้ำขนาด 1 ปอนด์ (0.45 กิโลกรัม) มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮต์ นั่นหมายความยิ่งตัวเลข BTU สูง ยิ่งทำความเย็นได้มากเท่านั้น แต่ก็แลกมากับการกินปริมาณไฟมากขึ้น ดังการเลือก BTU ให้เหมาะสมกับขนาดของห้องจึงเป็นเรื่องสำคัญมากและเป็นที่มาของหัวข้อเราในวันนี้นั่นเอง
ทำไมเราต้องเลือก BTU ให้เหมาะกับขนาดห้อง
ก่อนจะเข้าประเด็นของเราในวันนี้ มาดามอยากให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้กันก่อน โดยหลักๆ จะแบ่งออกเป็น 4 ประเด็น
- ประสิทธิภาพในการทำความเย็นลดลง
- เลือก BTU ต่ำกว่าขนาดห้องมากเกินไป – ทำให้แอร์ทำงานหนัก ใช้เวลานานเกินไปกว่าห้องจะเย็น ค่าไฟสูงกว่าปกติ และยังทำให้แอร์เสียไวขึ้น
- เลือก BTU สูงกว่าขนาดห้องมากเกินไป – ทำให้ห้องเย็นเกินไป นอกจากนี้คุณยังต้องรำคาญเสียงคอมเพรสเซอร์ที่เปิด-ปิดบ่อยครั้ง นอกจากนี้ยังเป็นการสิ้นเปลืองเงินมากเกินความจำเป็นสำหรับการซื้อแอร์ และค่าไฟที่เพิ่มมากขึ้นแบบไม่คุ้มค่า
- อุณหภูมิอยู่ในระดับพอดี – การเลือก BTU ที่เหมาะสมจะช่วยให้ห้องมีอุณหภูมิที่คงที่ เย็นสบาย โดยไม่ทำให้รู้สึกไม่สบายตัวจากอากาศเย็นจัดหรือร้อนเกินไป และยังช่วยให้อุณหภูมิในห้องกระจายอย่างทั่วถึงอีกด้วย
- ความชื้นในห้องอยู่ในระดับพอดี – การเลือก BTU ที่เหมาะสมจะช่วยรักษาความชื้นในห้องไม่ให้ต่ำเกินไป ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การพักผ่อนในห้องได้สบายและไม่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น ผิวแห้งหรือคอแห้ง
วิธีคำนวณ BTU แอร์ให้เหมาะกับห้องของคุณ
มาเข้าประเด็นของวันนี้กันเลยค่ะ มาดูกันว่าการเลือก BTU ให้เหมาะกับขนาดห้อง สามารถทำได้จากวิธีใดได้บ้าง โดยเจ้า BTU หรือ British Thermal Unit จริงๆ แล้วก็คือ หน่วยหรือเกณฑ์ที่ใช้วัดความสามารถในการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศนั่นเอง ยิ่งมาก ยิ่งเย็น ยิ่งใช้กับห้องที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และมีผลต่อค่าไฟด้วยนั่นเองค่ะ ดังที่กล่าวไปแล้วในตอนต้น เราต้องเลือกให้ดี โดยสูตรคำนวณนั้นง่ายมากๆ ดังนี้ค่ะ
BTU = พื้นที่ห้อง [กว้าง (เมตร) x ยาว (เมตร)] x ระดับความแตกต่างของความร้อน*
สำหรับ “ระดับความแตกต่างของความร้อน” จะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ
- ห้องที่มีความร้อนน้อยใช้ตอนกลางคืนเป็นหลัก => 650-700
- ห้องที่มีความร้อนสูงใช้ตอนกลางวันเป็นหลัก => 700-800
ตารางสรุป BTU แอร์และขนาดห้องที่เหมาะสม
อย่างไรก็ตามสำหรับบางท่านอาจจะไม่เข้าใจ มาดามจึงมีตารางสรุปคร่าวๆ มาให้แล้ว โดยที่ไม่ต้องคำนวณเอง เพียงเท่านี้เราก็จะได้แอร์ที่เหมาะกับห้องของเราแล้ว ดังนี้ค่ะ
BTU | ห้องปกติ | ห้องโดนแดด |
9,000 | 12-15 ตร.ม. | 11-14 ตร.ม. |
12,000 | 16-20 ตร.ม. | 14-18 ตร.ม. |
18,000 | 24-30 ตร.ม. | 21-27 ตร.ม. |
21,000 | 28-35 ตร.ม. | 25-32 ตร.ม. |
24,000 | 32-40 ตร.ม. | 28-36 ตร.ม. |
25,000 | 35-44 ตร.ม. | 30-39 ตร.ม. |
30,000 | 40-50 ตร.ม. | 35-45 ตร.ม. |
35,000 | 48-60 ตร.ม. | 42-54 ตร.ม. |
48,000 | 64-80 ตร.ม. | 56-72 ตร.ม. |
80,000 | 80-100 ตร.ม. | 70-90 ตร.ม. |
ประหยัดมากขึ้นด้วยระบบ Inverter
สำหรับใครที่อยากประหยัดเรื่องค่าไฟมากขึ้น มาดามแนะนำให้คุณมองหาระบบ “Inverter” ด้วยค่ะ เพราะการทำงานของระบบที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิโดยตรงจากมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ สามารถเปลี่ยนเปลี่ยนความถี่การทำงานของคอมเพรสเซอร์ให้ลดลง ส่งผลให้การดูดน้ำยาแอร์ลดลง การกินไฟของมอเตอร์แอร์ก็จะลดลงตามลำดับด้วยเช่นกัน หรือก็คือ “เมื่อทำความเย็นได้ถึงจุดที่ต้องการแล้ว ระบบจะตัดการทำงานทันที” เพื่อรอให้อุณหภูมิตกลงมาถึงระดับที่ต้องทำงาน จากนั้นคอมเพรสเซอร์จะเริ่มต้นทำงานอีกครั้ง ซึ่งทุกครั้งที่แอร์ระบบธรรมดาเริ่มทำงานจะกินไฟมากกว่าการควบคุมอุณหภูมิให้คงที่แบบระบบ Inverter อย่างไรก็ตามแอร์ที่มี Inverter อาจจะไม่เหมาะกับ ห้างร้านที่มีการเปิด-ปิดประตูเพื่อเข้าออกบ่อยๆ ดังนั้นแอร์ระบบ Inverter จะเหมาะสมกับบ้านพัก ที่อยู่อาศัยมากกว่า
ประเภทของแอร์ & เหมาะกับห้องแบบไหน
ก่อนจากกันไป มาดามมีของแถมมาให้ เพราะแอร์นั้นมีให้เลือกมากมายหลายแบบเลย เผื่อว่ามีใครที่อยากใช้แอร์แบบอื่น นอกจาก “แอร์ติดผนัง” ที่หลายๆ คนคุ้นเคย มีดังนี้ค่ะ
- แอร์ติดผนัง – กะทัดรัด มีหลายฟังก์ชั่น เหมาะกับบ้านและคอนโด
- แอร์ฝังเพดาน – ประหยัดพื้นที่ เหมาะกับห้องขนาดใหญ่ แต่ราคาสูงและบำรุงรักษายาก
- แอร์แขวนเพดาน – คล้ายกับแบบติดผนัง แต่กระจายความเย็นได้เร็วและทั่วถึงกว่า เหมาะกับห้องขนาดใหญ่ เช่น ห้องประชุม หรือสำนักงาน
- แอร์ตั้งพื้น – มีจุดเด่นในเรื่องการถอดทำความสะอาดได้ง่าย เหมาะกับห้องที่มีความสูงจากพื้นถึงเพดานแบบพอดี และไม่เหมาะกับห้องกว้างและเพดานสูง
ช้อปเครื่องปรับอากาศจาก Central Online
สำหรับใครที่กำลังมองหา “เครื่องปรับอากาศ” คุณภาพสูง สามารถเลือกช้อปได้เลยบน Central Online โดยเราคัดสรรรุ่นยอดฮิตมาให้คุณแล้ว โดยจะเป็นขนาด 9,000 BTU ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ
SAMSUNG แอร์ติดผนัง WindFree Anti-Bacterial Cu Filter 9000 BTU Inverter รุ่น AR10CYHCAWKNST ราคา: | SAMSUNG แอร์ติดผนัง AI WindFree 9000 BTU Inverter รุ่น AR70F09D1DWNST ราคา: |
SHARP [ติดตั้งฟรี] แอร์ติดผนัง YMBT Series 9000 BTU Inverter รุ่น AH-XP10YMBT ราคา: | COMFEE แอร์ติดผนัง Soft Air Series 9000 BTU Inverter (สีขาว) รุ่น CF-09VCBF-T ราคา: |
ELECTROLUX แอร์ติดผนัง UltimateHome 300 9000 BTU Inverter รุ่น ESV093C3XB ราคา: | HAIER แอร์ติดผนัง UV Cool Deluxe 9000 BTU Inverter รุ่น HSU-10VRWA03T + ท่อ ราคา: |
เพียงเท่านี้คุณก็จะสามารถเลือก “เครื่องปรับอากาศ” ที่เหมาะสมกับห้องของคุณได้แล้ว
ช้อปโปรโมชั่น 5.5 HBD กันต่อได้เลยที่ Central Online
ช่วงนี้ทาง Central Online กำลังจะจัดโปรโมชั่น “Central 5.5 HBD“ ในช่วงวันที่ 1-6 พฤษภาคม นี้ ที่ยกขบวนสินค้าจากแบรนด์ดังมาจัดโปรโมชั่นพิเศษ ใครที่อยากเป็นเจ้าของเครื่องปรับอากาศและสินค้าอื่นๆ ในราคาสุดคุ้ม อย่าลืมเข้าไปช้อปกันตอนนี้! ก่อนสินค้าหมด
ขอบคุณข้อมูลจาก: carrier / land & house / iurban.in.th / siamair.net
เรียบเรียงข้อมูล: MadameLisa