is-the-babys-body-twisting-in-bed-causing-harm-to-the-babys-health

ทารกนอนบิดตัวส่งผลเสียกับสุขภาพลูกน้อยหรือไม่

กลับมาพบกับมาดามและสาระดีๆ อีกเช่น ในรอบนี้เราจะมากันในหัวข้อแม่และเด็กนั่นเอง คุณแม่หลายๆ คนน่าจะเห็นลูกน้อยนอนบิดตัวกันมาบ้างแล้ว และน่าจะเกิดความกังวลว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องที่ต้องกังวลหรือไม่ มาดามได้หาคำตอบมาให้คุณแล้ว ซึ่งจะเป็นอย่างไรนั้น ตามมาดามมาดูกันเลย

ทารกนอนบิดตัวต้องกังวลทุกครั้งหรือไม่?

สำหรับใครที่สงสัยว่าต้องกังวลหรือไม่ มาดามขอตอบเลยว่าไม่นะคะ นั่นก็เป็นเพราะว่า คุณหมอได้บอกเอาไว้ว่า ไม่ต้องตกใจหากเจอลูกน้อยนอนบิดตัวบ่อยๆ เช่น การบิดแขน ขา ลำตัวไปมา เพราะเป็นอาการคลายกังวล เหมือนกับผู้ใหญ่เพิ่งตื่นนอนั่นเอง  โดยทางการแพทย์เรียกว่า การออกกำลังกายของกล้ามเนื้อ

แต่อย่างไรก็ตามการนอนบิดตัวนั้น คุณแม่จะต้องกังวลเมื่อมีอาการเหล่านี้

การนอนบิดตัวจากการดื่นมมากเกินไป

การให้ลูกดื่มนมมากเกินไป (Overfeeding) จะทำให้เขาเกิดอาการนอนบิดตัวได้ เพราะระบบย่อยอาหารของเด็กเล็กๆ นั้นยังไม่สมบูรณ์ จึงทำให้เกิดอาการอึดอัด ไม่สบายตัวได้ ซึ่งสามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้

  • ลูกแหวะนม นอนบิดตัวพร้อมกับท้องเสีย โดยจะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องความสะอาด แต่จะเป็นเรื่องการให้นมที่มากเกินไป หากมีอาการให้รีบพาไปพบแพทย์
  • เสียงร้องผิดปกติ หากลูกน้อยร้องเหมือกันแพะหรือแกะ (ร้องเหมือนมีอะไรติดคอ) โดยเฉพาะช่วงหลังดื่มนม ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่า ลูกได้รับอาหารมากเกินไป

การนอนบิดตัว แล้วร้องไห้

baby-cry

อาการนี้จะตรงกันข้ามกับข้างต้น เพราะจะเกิดจากการที่ลูกน้อยนั้นนอนไม่อิ่มนั่นเอง เช่น นอนงอแง นอนไม่ตรงเวลา เพราะมีคนมาเล่นด้วยมากเกินไป นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากอาการป่วย  ให้สังเกตว่ามีผดผื่นตามตัวหรือไม่ หรืออาการโคลิดที่จะร้องไห้เป็นบางเวลา เช่น ช่วงเย็นหรือค่ำ ทั้งๆ ที่ยังไม่ใช่เวลานอน

ทารกนอนบิดตัว ยุกยิก

ถ้ามีอาการนี้ต้องดูช่วงวัยเข้ามาประกอบ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • อายุราวๆ 2-3 สัปดาห์ – ลูกน้อยกำลังไม่สบายตัว จึงพยายามดิ้นไปมาเพื่อหาตำแหน่งที่ตัวเองรู้สึกสบายขึ้น หรืออาจจะบอกว่า อิ่มแล้วก็ได้
  • อายุ 4 – 5 เดือน – ในกรณีที่ไม่ร้องไห้ นั่นเป็นสัญญาณว่าลูกน้อยของคุณกำลังพยายามพลิกตัวเป็นครั้งแรก เป็นข่าวดีว่าลูกกำลังจะเริ้มคลานแล้ว

บิดตัวเรียกเนื้อ

อาการนี้เกิดได้กับทารกทุกคน ทุกช่วงเวลา ซึ่งเป็นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อของเด็กเล็กที่มักทำตอนตื่นนอน แต่หากบิดตัวแล้วมีเสียงดังออกมา เพราะนั่นจะแสดงให้เห็นว่าลูกน้อยกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง ซึ่งเกิดจากการที่น้ำหนักตัวขึ้นเร็ว แต่ไม่มีอันตรายแน่นอนค่ะ

บิดตัวจากอาการโคลิค

อาการโคลิค (Baby) หรืออาการปวดปิด คืออาการที่ลูกน้อยมักจะเป็นกันในช่วง 100 วัน หรือ 3 เดือนแรก เป็นภาวะที่เด็กร้องไห้หนักมาก โดยหาสาเหตุไม่ได้โดยเฉพาะในตอนกลางคืน มักจะมีอาการร่วมด้วยต่อไปนี้

  • ร้องไห้มากกว่า 3 ชั่วโมง/วัน ติดต่อกัน 3 วัน/สัปดาห์
  • ทารกร้องไห้สุดเสียง หรือแผดเสียงออกมา
  • บิดตัวไปมา ไม่สบายตัว
  • งอตัว กำมือแน่น เหมือนจะทำร้ายตัวเอง

สาเหตุของการปวดปิดโคลิค 

1.ระบบทางเดินอาหาร

  • กลืนก๊าซเข้าไปในลำไส้เข้าไปตอนดูดนมโดยเฉพาะการดูดขวด ทำให้แน่นท้อง เกิดการไม่สบายตัว
  • สามารถใช้ยาลดการบีบตัวของลำไส้ก็อาจช่วยให้เด็กบางคนมีอาการที่ดีขึ้นได้
  1. สุขภาพจิตของคุณแม่
  • ความเครียดที่ติดมาช่วงเพิ่งคลอด มีผลต่อทารก รวมไปถึงความสัมพันธ์
  • เป็นคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว ทำให้รู้สึกอ่อนล้า ท้อแท้ เครียด ไม่รู้วิธีรับมือเวลาลูกร้องไห้

เรื่องของนมที่คุณแม่ดื่มตอนให้นมบุตร

อาการโคลิคสามารถเกิดขึ้นได้จากการดื่มนมของทารก ทั้งนมผงและนมแม่ ถ้าคุณแม่กังวลเรื่องอาหารของตนเอง ว่าอาจทำให้ลูกมีอาการโคลิค ให้ลองเช็คตัวเองเวลาดื่มนมวัว นมถั่วเหลือง แล้วไปให้นมลูก ดูว่าลูกมีอาการอย่างไรบ้าง นมแบบไหนที่แม่กินแล้วมีอาการแหวะนม ผื่นขึ้น ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นเลือด

ทั้งนี้ถ้าลูกมีอาการปวดบิด มีไข้ ร้องนานกว่าเดิมจนหน้าดำหน้าแดง สีอุจจาระเปลี่ยนไป หรือหายใจผิดปกติ ควรรีบพาลูกน้อยไปพบคุณหมอด่วนค่ะ

นี่ก็คือทั้งหมดที่มาดามนำมาฝากในครั้งนี้ สำหรับใครที่อยากรู้เรื่องราว หรือเกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับคุณแม่ สามารถไปดูได้เลยที่เพจ My little Club และ สำหรับใครที่อยากไปช้อปปิ้งกันต่อ สามารถไปช้อปกันได้เลยที่ Central Online