วิธีง่ายๆ รับมือลูกติดเกม คุยง่ายไม่ทะเลาะกัน!

บ้านไหนที่มีลูกเล็กหรือลูกเริ่มเป็นวัยรุ่น แล้วประสบปัญหาลูกติดเกม มีปัญหานี้กันบ้างมั้ยคะ คิดว่าหลายบ้านพบปัญหาแบบนี้กันแน่นอน ปัญหาเด็กติดเกมเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้คุณแม่และคุณพ่อหลายบ้านปวดหัว แต่ก็ต้องยอมรับว่าในยุคดิจิตัลนี้ คุณแม่และคุณพ่อหลายคู่อาจไม่มีเวลาให้กับลูกเพราะต้องทำงา โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์กลายเป็นตัวช่วยเลี้ยงลูกที่ได้ผล ทำให้ลูกสงบ ทำให้เราได้มีเวลาเป็นของตัวเองสักพัก แต่การที่ลูกติดเกม ติดอุปกรณ์เหล่านี้ ก็นำมาซึ่งปัญหาใหญ่ ปัญหาลูกติดเกม ที่สำคัญลูกอาจติดคำหยาบ คำพูดไม่สุภาพจากบล็อคต่างๆ ที่เด็กเสิร์ชเข้าไปดูด้วยได้

ปัญหาลูกติดเกมเป็นปัญหาที่ต้องอาศัยความร่วมมือของทั้งคุณแม่และคุณพ่อ แล้วเราจะหาทางแก้ไขปัญหาลูกติดเกมได้อย่างไรเพื่อให้ลูกเพลาๆ การเล่นเกโดยไม่ทำร้ายจิตใจกัน มาดูกันเลยค่ะ

ทำไมเด็กถึงติดเกม

ADDICTION

การที่ลูกของเราติดเกมอาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่างที่เมื่อ 10-20 ปีที่แล้วตอนที่เราเป็นเด็ก เราไม่เคยเจอะเจอกับปัญหาแบบนี้ เด็กๆ สมัยก่อนมีแต่เล่นของเล่น และออกไปเล่นในสนามหญ้า สนามเด็กเล่น ไปว่ายน้ำ เล่นให้เหงื่อซก ไม่มีหรอกคะเกมคอมพิวเตอร์ มาดูกันว่าปัจจัยที่ทำให้เด็กสมัยนี้ติดเกมมีอะไรบ้าง 

1. การเลี้ยงดู

เรามักพบเด็กติดเกมในครอบครัวที่มีภารกิจและหน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบเยอะ ทั้งคุณแม่และคุณพ่อทำงานนอกบ้าน ไม่ค่อยมีเวลาให้กับลูกเท่าที่ควร ไม่มีโอกาสในการฝึกวินัย ไม่ได้ฝึกให้ลูกรู้จักเคารพกฎกติกาต่างๆ ภายในบ้าน เมื่อคุณแม่และคุณพ่อมีเวลาว่าง ก็อาจตามใจลูกให้ทำในสิ่งต่างๆ ที่ลูกอยากทำ เช่นปล่อยให้เล่นเกม เพื่อถือเป็นการทดแทนเวลาให้กับลูก หรือบางครั้งคุณแม่และคุณพ่ออาจใจอ่อนไม่ลงโทษเมื่อเด็กๆ ทำผิด หรืออาจขาดการใช้เวลาคุณภาพ หรือ Quality TIme ที่สมาชิกในครอบครัวควรทำกิจกรรมร่วมกัน สิ่งเหล่านี้สร้างความรู้สึกเบื่อหน่าอยและเหงาให้กับเด็ก เด็กจึงหันไปหาการเล่นเกมไม่ว่าจะเป็นเกมบนโทรศัพท์มือถือ บนแท็บเล็ต หรือบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณพ่อและคุณแม่ 

2. สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

สังคมสมัยนี้ เป็นสังคมวัตถุนิยม เป็นยุคที่มีเครื่องมือสื่อสารที่สร้างความสนุกตื่นเต้นให้เด็กมากมาย เครื่องมือเหล่านี้หยิบฉวยง่าย สร้างโลกส่วนตัว โลกใบใหม่ให้กับลูก การเล่นเกมทำให้เด็กรู้สึกว่าได้ปลดปล่อยความเครียดจากการเรียนหนังสือ หรือจากการใช้ชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังได้พบเพื่อใหม่บนเกมออนไลน์ จึงทำให้เด็กหันไปใสนใจการเล่นเกม

3. ตัวของเด็กเอง

เด็กบางคนมีความเสี่ยงต่อการติดเกมมากกว่าเด็กคนอื่นๆ เช่น เด็กที่มีสมาธิสั้น หรือ Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) เด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์ เด็กที่เป็นโรคซึมเศร้า รวมถึงเด็กที่มีปัญหาที่โรงเรียน เป็นต้น

สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกของคุณกำลังติดเกม

1. พูดคุยหรือคิดถึงเกมตลอดเวลา

1 TALK 1

สำหรับเด็กที่มีแนวโน้มว่่าอาจติดเกมมักจะพูดคุยกับคุณแม่คุณพ่อ เพื่อนๆ หรือพี่น้องเกี่ยวกับเกมอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะชวนไปทำกิจกรรมสันทนาการใดๆ ลูกก็จะซักถามพูดคุยเกี่ยวกับเกม อยากซื้ออุปกรณ์ในแอปเกมอยู่ตลอดเวลา

2. ไม่สนใจกิจกรรม หรืองานอดิเรก 

2 NO OTHER ACTIVITIES

อย่างที่บอกไปข้างต้น ลูกจะเริ่มไม่สนใจกิจกรรมใดๆ ที่เคยชอบทำ อยากเล่นเกมและเล่นต่อเนื่องเป็นเวลานาน จากเดิมที่เคยอาจชอบวาดรูป อ่านหนังสือ เล่นของเล่น หรือออกไปวิ่งเล่นนอกบ้าน ลูกเริ่มให้ความสำคัญกับเกมในคอมพิวเตอร์ บนมือถือ หรือบนแท็บเล็ตมากขึ้น เล่นแต่เกมทั้งวัน

3. เริ่มควบคุมเวลาเล่นเกมไม่ได้

3 NO TIME LIMIT

เมื่อลูกเริ่มเล่นเกมแล้ว ลูกจะใช้เวลาในการเล่นนานหลายชั่วโมงต่อวันลูก เล่นต่อเนื่องไม่หยุดจนยากที่จะควบคุม บางคนถึงขั้นเล่นข้ามวันข้ามคืนเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าคุณแม่และคุณพ่อจะกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้ลูกเล่นเกม แต่ลูกก็ไม่ค่อยเชื่อฟัง ชอบแอบเล่นเกมลับหลังคุณแม่และคุณพ่อ อาการแบบนี้ถือเป็นสัญญาณอันตรายที่แสดงออกมาให้คุณแม่และคุณได้เห็นแล้วว่าการเล่นเกมเป็นสิ่งที่ลูกขาดไม่ได้ จนส่งผลให้ลูกควมคุมเวลาและควบคุมตัวเองให้เลิกเล่นเกมไม่ได้ 

4. มีอาการต่อต้านเมื่อให้หยุดเล่น

4 ANGEY

ลูกบางบ้านอาจแสดงอารมณ์รุนแรง หงุดหงิด หรือไม่พอใจ บางคนถึงขั้นแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวเมื่อคุณแม่และคุณพ่อห้าม หรือบังคับให้เลิกเล่นเกม อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณร้ายแรงแสดงให้เห็นได้ชัดว่าลูกเริ่มติดเกมแล้ว ลูกไม่สามารถหักห้ามใจและควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ จนทำให้เขาแสดงอารมณ์ อาจทำร้ายร่างกายคนอื่น เพื่อให้ตัวเองได้เล่นเกมต่อไปได้

5. พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน

5 BEHAVIORS CHANGE

เด็กติดเกมอาจเริ่มเก็บตัว ไม่ชอบเข้าสังคม ไม่อยากคุยกับคุณแม่คุณพ่อ ชวนไปเที่ยวไหนก็ไม่ไป ไม่รับประทานอาหาร ไม่หลับไม่นอน แสดงความดื้อรั้นหรือต่อต้านเมื่อถูกห้ามหรือหยุดเล่นเกม อาจถึงขั้นแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวง่าย หงุดหงิด พูดคำหยาบ หรือมากจนกระทั่งมีการโกหกหรือลักขโมยเงินเพื่อแอบไปเล่นเกมที่อื่น เพราะเกมกลายเป็นชีวิต เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของลูกไปแล้ว 

6. ติดเกมส่งผลกระทบด้านสุขภาพ

6 SICK KID

เมื่อลูกเล่นเกมเป็นเวลานานแบบไม่หยุดพัก บางครั้งนานจนไม่มีเวลารับประทานข้าว เข้าห้องน้ำ หรือแม้กระทั่งนอน มันย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาของเด็ก นอกจากจะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพแล้ว ยังส่งผลไปถึงการละเลยหน้าที่สำคัญต่างๆ ที่เด็กพึงกระทำ เช่น การช่วยงานบ้าน การไปโรงเรียน ส่งผลให้ผลการเรียนแย่ลง แถมยังมีสัมพันธภาพคุณแม่และคุณพ่อ สมาชิกในครอบครัว พี่น้อง เพื่อน และคนรอบข้างน้อยลงอีกด้วย  

การรับมือเด็กติดเกมแบบไม่ทำร้ายจิตใจกัน

1. หลีกเลี่ยงการดุด่าว่ากล่าว

A NO SCOLD

การดุด่า การบ่น การตำหนิติเตียน การใช้อารมณ์และถ้อยคำรุนแรง ไม่ได้ช่วยให้ลูกของคุณเลิกติดเกมได้ แม้ว่าจะรู้สึกเหนื่อยหน่าย อยากให้ลูกเพลาๆ การเล่นเกม คุณแม่และคุณพ่อต้องอดทนอดกลั้น ไม่แสดงออกทางอารมณ์และคำพูดกับลูกของเรา ลองเปลี่ยนจากการดุด่า การบ่น เป็นการแสดงออกถึงความเข้าใจ อาจเข้าไปให้ความสนใจในเกมที่ลูกกำลังเล่นว่าทำไมลูกถึงชอบมาก และเตือนให้ลูกหาเวลาพักผ่อน รับประทานขนม หรืออาหารบ้าง ให้ลูกรู้สึกว่าคุณแม่และคุณพ่อไม่ได้ต่อต้าน หรือโกรธเคืองเมื่อลูกติดเกม 

2. ไม่ควรหักดิบ

B TAKE TABLET AWAY FROM KID

การหักดิบ ห้ามลูกเล่นเกมโดยเด็ดขาดและทันทีส่งผลรา้ยมากกว่าผลดีกับความสัมพันธ์และความรู้สึกของลูกที่มีต้อการกระทำของเรา คุณแม่และคุณพ่อหลายคู่ไม่รู้จะแก้ไขปัญหาลูกติดเกมได้อย่างไร จึงหันมาใช้วิธีการหักดิบโดยการยึดเกม หรือให้ลูกเลิกเล่นเกมทันที ไม่ว่าจะเป็นการปิดจอ ดึงปลั๊ก หรือคว้เกมมาจากมือลูกโดยไม่มีการสื่อสาร วิธีนี้จะก่อให้เกิดความโกรธและการต่อต้านจากลูก จะทำให้ลูกไม่เชื่อฟังคุณแม่และคุณพ่ออีกต่อไป ดังนั้นวิธีการแบบหักดิบจึงไม่ควรนำไปใช้โดยเด็ดขาด เพราะจะส่งผลในด้านลบ ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาแต่อย่างใดค่ะ  

.3. ให้เวลากับลูกมากขึ้น 

C SPEND TIME WITH KIDS

มีกิจกรรมมากมายที่ทำให้ลูกคลายการติดเกมได้ เช่น พาลูกไปเที่ยวนอกบ้าน พาไปเที่ยวสวนสัตว์ พาไปเที่ยวทะเล เที่ยวภูเขา พาไปขี่จักรยาน ขี่สกูตเตอร์ สเก็ตบอร์ด หรือพาไปทำกิจกรรมสันทนาการต่างๆ ที่ครั้งหนึ่งลูกเคยชอบทำ ดึงให้ลูกมีกิจกรรมที่ห่างจากโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ เชื่อว่าจะช่วยเบนความสนใจของเด็กจากการเล่นเกมได้

ไอเทมเพื่อกิจกรรมเอ้าดอร์ต่างๆ 

LA BICYCLE YELLOWLA BICYCLE พาวเว่อร์ เอ็มเอ็กซ์ 20″ สีเหลือง

ราคา 4,100 บาท พิเศษ 3,200 บาท (SAVE 22%)

MOVING REDMOVING จักรยานเด็ก Moving Style 16 นิ้ว สีแดง

ราคา 5,000 บาท พิเศษ 1,990 บาท (SAVE 60%)

MICRO SCOOTERMICRO สกูตเตอร์ Scooter BMW CITY สำหรับ 10 ปีถึงผู้ใหญ่

ราคา 15,900 บาท พิเศษ 12,720 บาท (SAVE 20%)

GB SKATEBOARDGB เฟอร์รารี่ ดับเบิ้ล คิกเกอร์ สเก็ตบอร์ด 31″ รุ่น FBW11 สีแดง

ราคา 2,899 บาท 

SMARTPLAYONLY TRAMPOLINESMARTPLAYONLY แทรมโพลีนรุ่น Super Fly ขนาด 8 ฟุต Super Bounce รั้วตาข่ายอยู่ด้านใน

ราคา 24,000 บาท พิเศษ 18,666 บาท (SAVE 22%)

COLEMAN TENTCOLEMAN Japan Excursion Tepee/325 เต็นท์

ราคา 7,500 บาท

4. ชวนลูกเล่นเกมพัฒนาสมอง

D PLAY GAMES

ปัจจุบันมีเกมเสริมทักษะสมองมากมาย ทั้งบอร์ดเกม ของเล่นวิทยุบังคับ หรือของเล่นเสริมทักษะอื่นๆ ที่ไม่ใช่เกมออนไลน์ คุณแม่และคุณพ่ออาจลองหาเกมที่ช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของลูก เช่น เกมคิดคำนวณ เกมภาษาอังกฤษ เกมจับคู่ เกมจับผิดภาพ หรือเกมต่อตัวต่อ เป็นต้น คุณแม่และคุณพ่อควรจะมีเวลาอยู่เล่นกับลูกเพื่อให้ลูกรู้สึกสนุกไปกับการเล่นเกม เพราะนอกจากความสนุกสนานและทักษะที่ลูกได้พัฒนาแล้วนั้น ลูกยังได้ใช้เวลาร่วมกับคุณแม่และคุณพ่อ ลูกจะได้รับรู้ถึงความรักและความอบอุ่นจากครอบครัวอีกด้วย

บอร์ดเกมน่าเล่น

JENGAHASBRO GAMING ซูเปอร์ มาริโอ้ เจ็งก้า

ราคา 995 บาท 

MATTEL UNOMATTEL การ์ดเกมส์ อูโน่รีมิกซ์ รุ่น GXD71 

ราคา 550 บาท พิเศษ 468 บาท (SAVE 15%)

CARDINAL BINGOCARDINAL ของเล่นบิงโก Traditions Loto รุ่น CD12098375B000

ราคา 295 บาท พิเศษ 236 บาท (SAVE 20%)

ของเล่นวิทยุบังคับถูกใจเด็ก

WISHER TOY RADIO CONTROL RACING BOATWISHER TOY เรือบังคับวิทยุ

ราคา 4,290 บาท 

CITY TOYS RACING CARCITY TOYS รถบังคับวิทยุ 1 10 ขับเคลื่อน

ราคา 2,690 บาท พิเศษ 1,883 บาท (SAVE 30%)

PLAYMOBILPLAYMOBIL 70628 ไดโน ไรซ์ ทิแรโนดอน: โดรนจู่โจม

ราคา 1,990 บาท พิเศษ 1,493 บาท (SAVE 25%) 

5. สร้างระเบียบวินัย กำหนดเวลาเล่นเกม

E TIMING

หากคุณแม่และคุณพ่อต้องการให้ลูกมีระเบียบวินัย วิธีง่ายๆ ที่สามารถช่วยได้คือ กำหนดเวลาการเล่นเกมให้กับลูก นอกจากจะช่วยให้ลูกใช้เวลากับเกมน้อยลงแล้ว ยังช่วยสร้างระเบียบวินัยให้กับลูกด้วย เพราะการกำหนดเวลาอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอนั้นจะสร้างวินัยให้ลูกรู้จักการรักษาเวลาอย่างเป็นธรรมชาติ คุณแม่และคุณพ่อควรสร้างเงื่อนไขและข้อตกลงกับลูก และรักษากฎอย่างเคร่งครัด เช่น จะอนุญาตให้เล่นเกมได้ต่อเมื่อทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จ เช่น หลังการทำการบ้าน หรือหลังอ่านหนังสือเสร็จ และกำหนดเวลาเล่นเกมไม่ให้ลูกเล่นนานเกินไป โดยประมาณ 1-2 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น คุณแม่และคุณพ่อควรตั้งนาฬิกาเรือนโตๆ ไว้ใกล้ๆ ลูก เพื่อให้ลูกเห็นเวลาได้อย่างชัดเจน และตระหนักรู้ได้ด้วยตัวเองว่าควรจะหยุดเล่นตอนไหน

6. ห้ามมีคอมพิวเตอร์ แทบเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือในห้องนอน

F NO COM IN BEDROOM

ห้องนอนที่ดีควรมีสภาพที่เหมาะและเอื้ออำนวยต่อการนอนหลับพักผ่อน ดังนั้นจึงไม่ควรมีคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือแทบเล็ตในห้องนอน ไม่ควรมีสิ่งเร้าที่คอยดึงดูดใจจนอาจทำให้ลูกนอนไม่หลับ และแอบเล่นเกมในตอนกลางคืน คุณแม่และคุณพ่อก็ควรใช้เวลาที่มีคุณภาพกับลูกก่อนนอน เช่น พูดคุยหรือเล่านิทาน เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก และยังทำให้ลูกมีเวลาสนใจเกมน้อยลงได้อีกด้วย

7. ให้คำชมหรือรางวัลเมื่อลูกเล่นเกมน้อยลง

G PRAISE THE KID

ทุกครั้งที่ลูกสามารถรักษาข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ให้กับพ่อแม่ได้ หรือให้ความสนใจกับเกมน้อยลง คุณแม่และคุณพ่อควรให้คำชมเชยเพื่อให้ลูกมีความมั่นใจและภาคภูมิใจในตัวเอง เช่น เมื่อลูกสามารถหยุดเล่นเกมในเวลาที่กำหนดได้ ควรชมเชยว่า “วันนี้ลูกทำดีมากเลยนะ มีวินัย ทำตามข้อตกลงของเรา” หรือ “เยี่ยมมากเลยลูก ลูกโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นแล้วนะ” หรือหากวันไหนลูกสามารถห้ามใจไม่เล่นเกมเลย เราอาจพูดคุยและชื่นชมลูกว่า “ไง…วันนี้ขี้เกียจเล่นแล้วเหรอลูก ดีแล้วพักๆ บ้าง วันนี้แม่ให้รางวัลให้ จะพาไปทานไอศกรีมกันนะคะ” หรือ “ดีแล้วลูก หยุดเล่นสักพัก วันนี้ไปดูหนังกัน แม่ให้รางวัล หนูชอบดูหนังไดโนเสาร์ใช่มั้ย กำลังเข้าโรงพอดีเลย” เราจะได้ทำให้ลูกเห็นว่ายังมีกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายที่เขาสามารถทำร่วมกับคุณแม่และคุณพ่อแล้วเกินความสนุกสนาน แถมได้รางวัลถูกใจอีกด้วย

หากคุณแม่และคุณพ่อทำทุกวิถีทางแล้วไม่ประสบความสำเร็จ แนะนำให้พาลูกไปปรึกษาจิตแพทย์ผู้ซึ่งสามารถหาวิธีแก้ปัญหาเด็กติดเกมได้ บางทีลูกอาจจะป่วยและมีปัญหาด้านสุขภาพจิต จิตแพทย์จะได้วินิจฉัย และวางแผนการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องต่อไป

สำหรับคุณแม่และคุณพ่อคู่ใดที่กำลังประสบปัญหาลูกติดเกมอย่าเพิ่งท้อใจ ใจเย็นๆ และอย่าใช้อารมณ์ในการแก้ปัญหา ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป Central Inspirer เชื่อว่าความรักและความเข้าใจของคุณแม่และคุณพ่อจะช่วยแก้ไขและเยียวยาทุกสิ่งได้ Happy Parenting นะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก: webmd.com/komchadluek.net

Picture credit: pinterest.com/greatschools.org/thesun.ie