มือใหม่หัดสตีมเกม & Podcast ต้องเตรียมอะไรบ้าง!!

ปัจจุบันสื่อโซเชี่ยลมิเดียกลายมาเป็นสื่อหลักที่ผู้คนใช้ติดตามข่าวสารและความบันเทิงเป็นอันดับต้นๆ ทำให้มีความชีพใหม่เกิดขึ้นมากมาย แต่ที่มาแรงสุดๆ ก็คงหนีไม่พ้นอาชีพสตีมเมอร์ ไม่ว่าจะเป็นสายเกมเมอร์หรือทำ Podcast บรรยายเรื่องราวต่างๆ ที่น่าสนใจในสังคมปัจจุบัน จนเป็นแรงบันดาลใจให้หลายๆ คนอยากจะเริ่มต้นสู่เส้นทางนี้กันมากมาย ซึ่งนี่ก็เป็นที่มาของเรื่องที่เราจะมาพูดกันในวันนี้ นั่นก็คือการที่เราจะเริ่มสตีมเกมและทำ Podcast นั้น ต้องเตรียมอะไรบ้าง!! เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในเส้นทางสายนี้ จะมีอะไรบ้างนั้นตามมาดามมาดูกันเลย

1. ติดตั้งโปรแกรม OBS Studio ให้พร้อม

OBS Studio

มาเริ่มกันด้วยโปรแกรมที่เรียกได้ว่าสตีมเมอร์ทุกคนจะต้องเลือกใช้เพราะอย่างแรกเลย “มันฟรี” และอีกอย่าง คือ ประโยชน์มันเยอะมากๆ ไม่ว่าจะเป็น

      • เป็นตัวจัดการเวลาที่เราไลฟ์สดตอนเล่นเกมและอื่นๆ
      • บันทึกหน้าจอและเก็บเป็นไฟล์วีดีโอ
      • ใส่ข้อความลงบนวีดีโอขณะบันทึก หรือถ่ายทอดสดได้
      • อื่นๆ อีกเพียบ

ด้วยฟังก์ชั่นที่มีมากมายขนาดนี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่สตีมเมอร์หลายๆ ท่านจะเลือกใช้งานกันอย่างล้นหลาม มาดามจึงยกให้เป็นสิ่งแรกเลยที่คุณจะขาดไม่ได้

ขั้นตอนการติดตั้ง OBS Studio

หากใครยังไม่รู้จะโหลดอย่างไร..มาดามก็ได้นำมาเฉลยคุณแล้ว!! โดยคุณสามารถทำตามขั้นตอนนี้ได้เลย บอกเลยว่าไม่ยาก

     1. ดาวน์โหลด Steam และติดตั้งให้เรียบร้อย สามารถคลิ้ก ที่นี่ เพื่อไปดาวน์โหลดได้เลย

     2. เมื่อเข้าสู่โปรแกรมให้ความสนใจไปที่ช่องค้นหาด้านขวาบนของ Steam (ดังภาพ) ให้พิมพ์ค้นว่า “OBS Studio” จะปรากฏลิสต์รายการขึ้นมาดังภาพ ให้คลิ้กตรงนั้นเข้าไปได้เลย

OBS Studio downloadd

ตัวอย่างหน้าจอค้นหา “OBS Studios”

     3. เมื่อเข้ามาแล้วให้เลื่อนลงไปด้านล่างจะเจอแถบสำหรับให้กดดาวน์โหลด ให้กดตรงคำว่า “ฟรี” ได้เลย จากนั้นให้ Steam จะให้คุณเลือกไดรฟ์ที่คุณต้องการนำไปติดตั้ง เมื่อดาวน์โหลดเสร็จสิ้นแล้วก็สามารถเช้าใช้งานได้เลย ผ่านเมนู “คลัง” ในโปรแกรม Steam ของคุณ

OBS Studio download 2

ตัวอย่างหน้าจอดาวน์โหลด “OBS Studios”

2. หัดใช้โปรแกรมตัดต่อให้ได้ประมาณหนึ่งก่อน

configure video

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ หากคุณจะลงคลิปในช่อง youtube ของคุณด้วย ซึ่งอาจจะเป็น Highlight หรือจุดสำคัญต่างๆ ระหว่างที่คุณไลฟ์สตรีม สกิลการตัดต่อนั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ดังนั้น ก่อนจะเริ่มเข้ามาสู่วงการนี้ มาดามแนะนำให้คุณเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้ให้เรียบร้อยเสียก่อน โดยอาจจะไม่ต้องถึงกับขั้นเก่งมากแต่ขอแค่ใช้ในเบื้องต้นเป็น อาทิ

  1. การใส่เพลงหรือเอฟเฟกต์ต่างๆ ระหว่างทางของคลิปวีดีโอ เพื่อเพิ่มความสนุกให้กับคลิป
  1. การ Jump Cut ซึ่งเป็นการตัดต่อที่ง่ายที่สุด และมี Impact ทำให้คลิปไม่น่าเบื่อ ซึ่งถ้าใครสนใจวิธีการทำ Jump Cut มาดามก็แปะวีดีโอไว้ให้คุณได้ชมกันแล้ว ดัานล่างนี้

ตัวอย่างการ Jump Cut อย่างมีชั้นเชิง

จริงๆ ยังมีเทคนิคการตัดต่ออีกมากเพื่อให้คลิปออกมาสมบูรณแบบที่สุด แต่ที่มาดามยกมาเพียงเท่านี้ เพราะหากทำได้ทั้ง 2 อย่าง คุณก็สามารถผลิตคลิปดีๆ ออกมาให้ผู้ชมได้แล้วล่ะ!! อย่างไรก็ตาม อย่าลืมฝึกฝีมือเพิ่ม เพื่อทำให้คลิปมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นไปอีกด้วยนะ

สำหรับโปรแกรมตัดต่อนั้นมีให้คุณเลือกใช้เยอะมากๆ แต่สำหรับมือใหม่มาดามแนะนำเป็นโปรแกรมตัตด่อที่ถูกลิขสิทธิ์และใช้งานได้ฟรีไปก่อน อาทิ DaVinci Resolve, VSDC, Shotcut และอื่นๆ เมื่อเกิดความชำนาญแล้วค่อยขยับไปใช้โปรแกรมที่เสียตังค์และใช้งานได้หลากหลายมากกว่า อาทิ Sony Vegas, Adobe Premiere Pro และอื่นๆ

3. มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่อง และต่อ “แคปเจอร์การ์ด (Capture Card)”

use-2-computer-and-capture-card

มาดามเชื่อว่าหลายๆ คนที่อ่านหัวข้อ คงจะเกาหัวกันแกร่กๆ และเกิดความสงสัยว่าทำไมต้องมีคอม 2 เครื่องล่ะ? สิ้นเปลืองเกินไปหรือเปล่า? และมีประโยชน์อย่างไร? เอาล่ะ มาดามจะตอบให้ดังนี้

ต้องเข้าใจกันก่อนว่าการสตรีมเกมนั้นจะต้องใช้ทรัพยากรจาก CPU และ GPU (การ์ดจอ) ค่อนข้างมาก ถ้าจะให้อธิบายอย่างง่ายๆ คือคอมพิวเตอร์ของเราจะทำงานหนัก และทำให้การถ่ายทอดสดนั้นออกมาไม่เต็มประสิทธิภาพ อาจจะสะดุดหรือคุณภาพวีดีโอห่วยสุดๆ ดังนั้น เพื่อไม่ให้คอมพิวเตอร์เครื่องหลักของคุณทำงานหนักจนเกินไป คุณจะต้องมีคอมพิวเตอร์อีกหนึ่งเครื่องเพื่อใช้สำหรับส่งสัญญาณภาพและเสียงขึ้นไปบนโซเชียลมิเดียนั่นเอง

capture card

ตัวอย่างของแคปเจอร์การ์ด

แต่ถามว่าเราจะเอาสัญญาณภาพและเสียงจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งได้อย่างไรกันล่ะ และนี่ก็ถึงคิวของ แคปเจอร์การ์ด (Capture Card) นั่นเอง โดยเจ้าอุปกรณ์ตัวนี้จะมาเป็นตัวกลางในการส่งสัญญาณภาพและเสียงของคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งนั่นเอง

มาถึงตรงนี้…หลายคนคงเกิดคำถามอีกแล้วว่า ทำไมเราไม่ต่อตรงๆ กันไปเลยระหว่างคอมกับคอม คำตอบก็คือ แคปเจอร์การ์ดนั้น สามารถลดภาระของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้!! โดยใช้ทรัพยากรได้น้อยลงหรือแทบจะไม่ได้ใช้ทรัพยากรของเครื่องเลยแม้แต่น้อย ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

ถ้าจะให้เห็นภาพง่ายๆ ก็คือ คุณเล่นเกมหรือ Podcast ที่คอมพิวเตอร์ A จากนั้นเสียบแคปเจอร์การ์ดแล้วไปแสดงผลที่คอมพิวเตอร์ B ซึ่งรับสัญญาณภาพและเสียงมาจากคอมพิวเตอร์ A นั่นเอง แสดงว่าคอมพิวเตอร์ A นั้นได้ใช้ทรัพยากรไปกับเกมหรือ Podcast ได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องแบ่งทรัพยากรไปใช้ในการถ่ายทอดสดนั่นเอง เพราะมีคอมพิวเตอร์ B และแคปเจอร์การ์ดรับภาระไปแล้วนั่นเอง!! สำหรับใครที่ยังไม่เห็นภาพ สามารถรับชมวีดีโอด้านล่างนี้กันได้เลย

4. เสียงพูดต้องดังและฟังชัดด้วย “ไมโครโฟน”

use best mircrophone

สิ่งต่อมาที่สำคัญมากๆ นั่นก็คือ “ไมโครโฟน” นั่นเอง โดยเฉพาะกับคอนเทนต์ที่ต้องใช้คุณภาพเสียงในระดับสูงอย่าง Podcast โดยในปัจจุบันนั้นไมโครโฟนมีให้คุณเลือกในท้องตลาดเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามคุณไม่ควรที่จะเลือกไมโครโฟนอะไรก็ได้มาใช้งานนะ ควรมีคุณสบัติอย่างน้อย 2 ประการ ดังนี้

     1. ปรับ Equalizer ได้

Equalizer ก็คือ เสียงต่ำ กลาง และสูง นั่นเอง ดังนั้น ไมค์ที่เลือกมาก็ควรใช้เป็นไมโครโฟนที่ปรับสิ่งเหล่านี้ได้ เพราะอย่าลืมว่าเนื้อเสียงของเรานั้นไม่เหมือนกัน เพื่อให้เสียงที่บันทึกออกมานั้นสมบูรณ์แบบมากที่สุด จะต้องปรับ Equalizer ให้เหมาะกับเนื้อเสียงของเรามากที่สุด

     2. กันเสียงรบกวนภายนอกได้ประมาณหนึ่ง

อย่าลืมว่าแม้ว่าห้องที่คุณจะเงียบมากแค่ไหนก็มีโอกาสที่เสียงบรรยากาศโดยรอบอาจแทรกเข้ามาระหว่างอัดเสียง ดังนั้น ควรเลือกไมค์ที่ตัดเสียงรบกวนเหล่านั้นได้อย่างยอดเยี่ยม เพื่อคุณภาพเสียงที่ออกมาสูงสุดนั่นเอง

เพียงคำนึงถึง 2 อย่างนี้ ก็จะทำให้คุณได้ไมค์โครโฟนที่ยอดเยี่ยมสำหรับบันทึกเสียงของคุณแล้ว

5. งานแสงไฟสุดอลังการต้องมา

use-led-light

อันนี้อาจจะไม่จำเป็นอะไรมากนัก แต่อย่างไรก็ตามหากคุณถ่ายทอดสดก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน โดยจะเป็นตัวเพิ่มสีสันและแสงสว่างที่เพียงพอที่จะทำให้ผู้ชมเห็นใบหน้าของคุณชัดเจนยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นตัวสร้างบรรยากาศให้ผู้ชมอินไปกับการเล่นเกมของคุณได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย โดยมาดามแนะนำเป็นไฟ LED ที่ปรับสีได้ จะได้มีความเป็นเกมเมอร์สุดๆ ไปเลย

6. แนวทางคอนเทนต์ต้องชัดเจน

content

สิ่งนี้สำคัญมากๆ เช่นกันก่อนที่คุณจะเริ่มต้นการทำ Podcast และสตรีมเกม นั่นก็คือแนวทางคอนเทนต์ต้องชัดว่าคุณจะนำเสนอมันออกมาแบบไหน เพื่อให้ผู้คนจดจำคุณได้ง่ายและรู้ว่าเขาสามารถนึกถึงคุณได้เมื่อพูดถึงเรื่องนี้ อย่างทำอะไรจับฉ่ายจนเกินไป ให้คุณเป็นผู้นำเสนอด้านใดด้านหนึ่งไปเลย จะถูกจดจำได้ง่ายกว่า อาทิ เรื่องสัตว์เลี้ยง ผี เกม และอื่นๆ ถ้าให้มาดามแนะนำ ลองไปดูตัวอย่างจากรุ่นพี่ในวงการที่ประสบความสำเร็จไปแล้วเสียก่อน ดูหลายๆ คนและลองนำมาเปรียบเทียบกัน เก็บจุดอ่อนและจุดแข็งแล้วมาประยุกต์ใช้กับช่องหรือชาแนลของเรานั่นเอง สิ่งนี้จะเป็นรากฐานสำคัญทำให้ช่องของคุณประสบความสำเร็จในอนาคตได้

7. เตรียมใจของคุณให้พร้อม

prepare your heart

และสิ่งสุดท้ายที่ขาดไม่ได้อีกเช่นกัน นั่นก็คือใจของคุณเอง เพราะอย่าลืมว่ากว่าที่คุณจะประสบความสำเร็จทางด้านนี้ได้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะฉะนั้นคุณจะต้องเตรียมตัว เตรียมใจให้พร้อมเสียก่อน เตรียมรับคำวิจารณ์จากผู้ชม, เตรียมรับอุปสรรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และเตรียมที่จะพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ แบบไม่มีสิ้นสุด เพื่อทำให้คอนเทนต์ออกมามีคุณภาพที่สุด หากคุณคิดว่าคุณพร้อมสำหรับสิ่งนี้แล้ว ก็ลุยกันเลย!! ไม่มีอะไรมาหยุดคุณได้แล้วล่ะ ณ จุดๆ นี้

เพียงเท่านี้คุณก็พร้อมที่จะเป็นสตีมเมอร์หน้าใหม่แล้ว หากใครที่จะเริ่มในเร็ววันนี้ มาดามก็ขออวยพรให้คุณโชคดีและประสบความสำเร็จไปสู่จุดที่คุณคาดหวังไว้นะ!!

Central Online จำหน่ายอุปกรณ์เสริมคอมพิวเตอร์สุดพรีเมี่ยม

เอาล่ะ!! มาดามเชื่อว่ามีหลายคนน่าจะอยากได้อุปกรณ์สำหรับสตรีมและทำ Podcast กันแล้ว ที่เซ็นทรัลออนไลน์ก็มีจำหน่ายนะ เพียงคลิ้กที่ลิงก์ด้านล่างเพื่อไปช้อปกันได้เลย

.

>คลิ้กเพื่อไปช้อปอุปกรณ์เสริมคอมพิวเตอร์<

.

และนี่ก็คือสาระดีๆ ที่มาดามนำมาฝากคุณในวันนี้ หวังว่าคุณจะสามารถทำคอนเทนต์ให้ออกมาแบบที่คาดหวังได้นะ..และสำหรับใครที่อยากไปช้อปปิ้งกันต่อ สามารถกลับไปช้อปต่อได้เลยที่ Central Online แหล่งรวมสินค้าพรีเมี่ยมที่มีให้คุณเลือกอย่างหลากหลาย