เลือกซื้อมีดทำครัวอย่างมืออาชีพ

แนะนำการเลือกซื้อมีดสำหรับเชฟมือใหม่ประจำบ้าน

มีด ถือเป็นอุปกรณ์ในการเข้าครัวอีกหนึ่งอย่างที่ขาดไม่ได้เลย สำหรับคนรักการทำอาหาร มีดจัดเป็นอีกหนึ่งอาวุธคู่ใจ การเลือกซื้ออุปกรณ์ดีๆ มาใช้นั่นก็เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะมีดมีอยู่หลายประเภทและแต่ละประเภทก็จะใช้งานแตกต่างกันออกไปอีก เคยสงสัยกันไหมว่า เวลาเลือกซื้อมีดทำครัว ทำไมคนขายจะชอบเชียร์ขายเราเป็นชุดเซต สุดท้ายเราก็ใช้อยู่แค่ไม่กี่อัน เราไปดูกันดีกว่าว่ามีกี่ประเภทและประเภทไหนเหมาะสมกับการใช้งานของคุณมากที่สุด เพื่อจะได้เลือกซื้อได้ถูกต้องและไปใช้ตามจุดประสงค์ หากได้อุปกรณ์ที่ดีในการทำอาหารก็จะยิ่งส่งเสริมคุณภาพของอาหารให้ดีขึ้นไปอีก

วัสดุที่ใช้ในการทำมีด

มีดส่วนใหญ่ในท้องตลาดทำมาจากเหล็กกล้า (Steel) สำหรับพ่อครัวแม่ครัวทั่วไปจะใช้งานเหล็กกล้าคาร์บอน  เหล็กกล้าไร้สนิมหรือเซรามิคที่ราคาไม่แพงก็เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว หากเป็นเหล็กกล้าคาร์บอนก็พยายามอย่าให้เปียกหรือโดนสารเคมี ส่วนเหล็กกล้าไร้สนิมก็หมั่นลับเป็นประจำก็จะทำให้เราใช้งานประสิทธิภาพของมีดได้เต็มที่โดยที่ไม่ต้องสิ้นเปลืองเงิน วัสดุที่นำมาใช้ทำนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่กำหนดคุณสมบัติ จะคมหรือจะแข็งแรงก็ขึ้นอยู่กับวัสดุเป็นส่วนมาก กระบวนการผลิต ในอุตสาหกรรมจะมีกระบวนการผลิตหลักๆ แบ่งเป็น 2 แบบ โดยแต่ละแบบจะส่งผลให้คุณภาพมีดออกมาแตกต่างกัน

วิธีตีขึ้นรูป (Forged)

เป็นการนำโลหะไปให้ความร้อนแล้วนำมาตีขึ้นรูปซ้ำไปซ้ำมาจนเป็นมีด เหมือนวิธีตีดาบที่เห็นในหนัง ชนิดนี้จะมีความหนา ได้น้ำหนัก สมดุล แข็งแรงทนทาน รักษาคมได้นาน และจะมีคอ (Bolster) และที่กั้นนิ้ว (Finger Guard) ซึ่งช่วยกั้นนิ้วกับคม ทำให้วางนิ้วไปตรงคอได้ แต่ข้อเสียคือราคาสูงและเนื่องจากมีคอทำให้การลับบริเวณใกล้ๆคอทำได้ยาก

วิธีปั๊มขึ้นรูป (Stamped)

จะใช้เครื่องปั๊มโลหะปั๊มแผ่นโลหะบางให้ออกมาเป็นมีดตามรูปแบบพิมพ์ ทำให้สามารถผลิตได้อย่างรวดเร็ว ชนิดนี้จะมีความแบน บาง น้ำหนักเบา ทื่อง่าย และราคาถูกกว่าแบบที่ตีขึ้นรูป

ประเภทของมีดและเป็นมีดที่จำเป็นต้องมี

Chef’s Knife

มันคือมีดครอบจักรวาล ใช้ได้กับงานมีดทุกประเภท สับหั่นตัดแร่ซอยเฉือน ในกรณีที่มีเล่มเดียว Chef’s Knife นี่แหละคือคำตอบ ลักษณะจะกว้างๆ โค้งนิดหน่อยยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร หรือ 6-12 นิ้ว ความยาวยอดนิยมอยู่ที่ 8 นิ้ว หรือ 20 เซนติเมตร

Utility Knife

มีดอเนกประสงค์คือตัวแรกที่ถูกย่อส่วนลงมานิดหน่อย ขนาดยาวประมาณ 5-6 นิ้ว ลักษณะจะผอมลงมาหน่อย ไม่กว้างเท่าตัวแรก ส่วนใหญ่ใช้หั่นผักและผลไม้

Paring Knife

มีดปอกผลไม้มีขนาดเล็ก ยาวแค่ประมาณ 2-4 นิ้ว ด้ามมักจะยาวกว่าใบ ใช้มากในงานปลอกผลไม้และงานเล็กละเอียด เช่น หั่นผักผลไม้เป็นชิ้นเล็กๆ หั่นส่วนเสียบนผักผลไม้ทิ้ง

Bread Knife

มีดหั่นขนมปังจะมีฟัน คมอาจจะตรงหรือโค้งนิดหน่อยก็ได้ ปลายมักจะไม่แหลม เพราะใช้หั่นอย่างเดียว เหมาะกับงานหั่นอาหารเปลือกแข็งเนื้อนุ่ม อย่างเช่น ขนมปัง มะเขือเทศ และเค้ก เป็นต้น

มีดเฉพาะทาง

Carving Knife

มีดหั่นเนื้อ ใช้สำหรับแล่เนื้อหรือหั่นหมู ไก่ แฮม มีลักษณะจะไม่กว้างเท่ามีดเชฟแต่มีความยาวใกล้เคียงกันคือ 8-15 นิ้ว คมมาก และปลายจะแหลมไว้สำหรับเสียบเนื้อเพื่อแล่จากกระดูกได้

Cleaver

มีดปังตอหรืออีโต้นั่นเอง ทุกคนน่าจะรู้จักกันดีอยู่แล้ว ลักษณะจะกว้างมากและเป็นรูปสี่เหลี่ยมบางอันจะมีรูตรงมุมระหว่างปลายกับสัน มีไว้สำหรับแขวน เอาไว้ใช้สับเนื้อ ข้อต่อ กระดูกสัตว์ เป็นต้น

Boning Knife

มีดเลาะกระดูกมีหน้าที่เลาะเนื้อบริเวณกระดูก ลักษณะจะผอมๆ แหลมๆ ความยาวประมาณ 5-6 นิ้ว

Fillet Knife

มีดแล่ปลาก็มีหน้าที่ไว้สำหรับแล่เนื้อปลา ลักษณะจะผอมกว่าแบบเลาะกระดูกเพื่อให้ซอกซอนได้ดียิ่งกว่า ทั่วไปความยาวประมาณ 6-11 นิ้ว  

เชฟมือใหม่ที่กำลังมองหามีดดีๆ ไว้ใช้งาน หรือเอาไว้มาเป็นอาวุธคู่กาย คงต้องตาลายกันอย่างแน่นอนเมื่อเห็นวางขายหลายอันและไม่รู้ว่าแต่ละอันเอาไว้ใช้งานอะไรบ้าง แต่วันนี้คงทราบกันดีแล้วว่ามีดมีกี่ประเภทและแต่ละประเภทไว้ใช้งานอย่างไรได้บ้าง หวังว่าเชฟมือใหม่ที่กำลังหาข้อมูลอยู่จะได้รับความรู้ใหม่ไปใช้กัน ในเมื่อมีข้อมูลดีๆ ประกอบการตัดสินใจขนาดนี้แล้วก็อย่าลืมไปเลือกซื้อมีดดีๆ มาไว้ใช้กันที่ Central Online