how-to-save-tax-detection-2565-by-central-inspirer

ลดหย่อนภาษีอย่างไรให้คุ้มในปี 2565? Central Inspirer มีคำตอบ

ในที่สุดเราทุกคนก็เข้าสู่ช่วงที่ทุกคนจะต้องยื่นจ่ายภาษีกันแล้ว รวมถึงตัวมาดามเองด้วย ทำให้หลายๆ คนน่าจะกำลังกังวลอยู่ว่าจะต้องจ่ายภาษีแพงๆ ในปี 2022 นี้ มาดามเล็งเห็นข้อกังวลในเรื่องนี้ของทุกคนดี ในครั้งนี้มาดามจึงมีเทคนิดคดีๆ ในการลดหย่อนภาษีในปี 2565 กัน

ลดหย่อนภาษีอย่างไรให้คุ้มในปี 2565

1. เช็กจำนวนตัวเลขลดหย่อนให้ครบถ้วนก่อนยื่นภาษี

มาดามเชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะทำกันเป็นประจำอยู่แล้ว แต่สำหรับใครที่เพิ่งเข้าสู่วงการครั้งแรก มาดามมีลิสต์มาให้คุณแล้ว ว่ารายการไหนสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ โดยมาดามจะขอหยิบยกออกมาเพียง 2 ประเด็น คือ ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว/ครอบครัว และค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน เนื่องจากเป็นสองสิ่งที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด และมีโอกาสได้นำมาใช้นั่นเอง

1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

   1.1 ค่าลดหย่อนส่วนตัว – มีมูลค่าทั้งหมด 60,000 บาท นำไปลดหย่อนภาษีได้เลยโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ

   1.2 ค่าลดหย่อนคู่สมรส – มีมูลค่าทั้งหมด 60,000 บาท รายการลดหย่อนนี้จะใช้ได้เฉพาะกับคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฏหมายเท่านั้น และคู่สมรสจะต้องเป็นผู้ที่ไม่มีรายได้

   1.3 ค่าฝากครรภ์หรือคลอดบุตร – นี่ก็คือค่าลดหย่อนที่คุณจะต้องมีค่าใช้จ่ายให้กับโรงพยาบาลนรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องกับ 2 กรณีนี้ แต่จะลดหย่อนไม่ได้ถึง 60,000 บาทต่อปีนะ และในกรณีที่ฝั่งคุณภรรยาไม่มีเงินได้ คุณสามีสามารถนำยอดนี้ไปลดหย่อนภาษีได้นะ อย่าลืมขอใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลด้วยนะ เพราะต้องใช้เป็นหลักฐาน

   1.4 ค่าลดหย่อนภาษีบุตร – สำหรับค่าลดหย่อนบุตรจะแบ่งออกได้ 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 – สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เลยจำนวน 30,000 บาท ตามจำนวนบุตรที่อยู่ในความดูแลที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือบุตรบุญทำ

กรณีที่ 2 – จะเข้ากรณีนี้ก็ต่อเมื่อมีบุตรคนที่สองเป็นต้นไปที่ในเกิดในปี 2561 หรือหลังจากนี้ และเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฏหมาย จะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้จำนวน 60,000 บาทต่อจำนวนบุตร

เงื่อนไขในการลดหย่อนภาษีบุตรแบบเจาะลึก

เนื่องจากการลดหย่อนภาษีในกรณีนี้มีความซับซ้อน มาดามจึงขอให้รายละเอียดเพิ่ม ดังนี้

       1.4.1 ความแตกต่างของบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม

บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย – สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ทั้งกรณี 1 และ 2 ได้อย่างไม่จำกัดจำนวนมีกี่คนก็นำมาลดได้เลย เช่น นาย A มีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 4 คน มี 3 คนเกิดก่อนพ.ศ. 2561 และอีก 1 คนเกิดหลังพ.ศ 2561 ดังนั้นสามารถลดหย่อนภาษีได้ 150,000 บาทนั่นเอง

บุตรบุญธรรม – สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เฉพาะในกรณีที่ 1 เท่านั้น และสูงสุดไม่เกิน 3 คนซึ่งจะต้องนับรวมจากบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายด้วย เช่น นาย A มีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 4 คน บุตรบุญธรรม 1 คน เมื่อรวมแล้วจะได้ทั้งหมด 5 คน แต่กฎหมายได้ระบุไว้ว่าต้องนับจากบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายก่อน ดังนั้น จึงสามารถลดหย่อนภาษีได้เพียง 4 คนเท่านั้น ไม่สามารถนำบุตรบุญธรรมมาใช้ลดหย่อนในกรณีนี้ได้

       1.4.2 เกณฑ์ในการนับว่ายังเป็นบุตรในความดูแลและสามารถลดหย่อนภาษีได้

  • เป็นผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือายุไม่เกิน 20 ปี
  • อยู่ในช่วงอายุ 20-25 ปี แต่ยังศึกษา เล่าเรียนอยู่ในระดับอนุปริญญา (ปวส., หรือ ปวท.) หรือปริญญาตรีขึ้นไป
  • ไม่จำกัดอายุ แต่จะเป็นผู้ที่ศาลตัดสินว่าเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
  • ต้องเป็นผู้ที่มีไม่มีรายได้หรือไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี แต่ถ้าบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะแต่มีเงินปันผลเกิน 30,000 บาท ก็ยังสามารถนำมาใช้ลดหย่อนได้เหมือนเดิม

   1.5 ค่าลดหย่อนการเลี้ยงดูบิดา มารดา ของตนเองและคู่สมรส  – สามารถนำมาลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท (สูงสุด 4 คน หรือไม่เกิน 120,000 บาท) โดยบิดา มารดาที่คุณจะนำมาใช้ลดหย่อนนั้นจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  • มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • จะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี

**ข้อควรระวัง – ไม่สามารถนำบิดาหรือมารดาคนเดียวกันไปใช้ในการลดหย่อนภาษีของหลายๆ คนในเวลาเดียวกันได้ จะต้องตกลงกันให้ดีระหว่างพี่น้องของคุณเองหรือพี่น้องของคู่สมรส ว่าใครจะได้สิทธิลดหย่อนภาษีในส่วนนี้ไป อาทิ นาย A และนาย B เป็นพี่น้องกัน นาย A เลือกจะลดหย่อนภาษีโดยใช้บิดา ดังนั้น นาย B จะใช้บิดามาลดหย่อนภาษีไม่ได้แล้ว ต้องใช้เป็นมารดาแทน

   1.6 ค่าลดหย่อนภาษีการเลี้ยงดูผู้พิการ – รายการนี้สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้คนละ 60,000 บาท แบบไม่จำกัดจำนวนคน โดยผู้พิการนี้จะต้องเป็นผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี มีหนังสือรับรองผู้พิการและหนังสือรับรองว่าคุณเป็นผู้อุปการะ

2. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน

นอกจากค่าใช้จ่ายส่วนตัวแล้ว ค่าใช้จ่ายด้านประกัน เงินออม และการลงทุน ก็สามารถนำมาลดหย่อยภาษีได้เหมือนกันนะ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

   2.1 เงินประกันสังคม – สามารถใช้ลดหย่อนได้ตามจำนวนส่งยอดแต่ไม่เกิน 9,000 บาท

   2.2 เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ – สามารถใช้ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยเงื่อนไขของค่าลดหย่อนประกันชีวิตคือต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป และต้องเป็นประกันในประเทศไทย และถ้าหากมีการเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไข ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ นอกจากนี้ในกรณีที่คุณทำประกันชีวิตให้กับคู่สมรสไม่มีรายได้ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เช่น แต่สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท เช่น นาย A ทำประกันให้ภรรยาโดยจ่ายเบี้ยไป 20,000 ก็จะใช้ลดหย่อยได้แค่ 10,000 บาทเท่านั้ น

   2.3 เบี้ยประกันสุขภาพและอุบัติเหตุ – สามารถนำมาใช้ลดหย่อยได้เช่นกัน แต่ต้องไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อนำไปรวมกับประกันชีวิตจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท

   2.4 เบี้ยประกันสุขภาพของบิดา มารดา – ใช้ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาท โดยบิดา มาราจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี แต่อายุไม่จำเป็นต้อง 60 ปีขึ้นไป

   2.5 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน – สามารถนำมาลดหย่อยได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาท

   2.6 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund) – สำหรับเงินลงทุนตรงส่วนนี้สามารถนำมาลดหย่อยภาษีได้ถึง 30% ของเงินได้ที่ต้องจ่ายตามจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท (ต้องนำไปรวมกับข้อ 2.5 ด้วย)

   2.7 เบื้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ – สามารถนำมาหย่อภาษีได้ 15% ของเงินได้ แต่สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท (รวมกับข้อ 2.5 และ RMF แล้วจะต้องไม่เกิน 500,000 บาท ดูตัวอย่างในข้อ 2.8) โดยประกันจะมีระยะเวลาคุ้มครองเกิน 10 ปี และต้องเป็นบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย และมีการจ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ

   2.8 กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF : Super Saving Funds) – สำหรับเงินลงทุนตรงส่วนนี้สามารถนำมาลดหย่อยภาษีได้ถึง 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท แต่เมื่อนำไปรวมกับข้อ 2.5 และ RMF แล้วต้องได้ยอดรวมแล้วไม่เกิน 500,000 บาท เช่น นาย A จ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพปีละ 400,000 บาท และซื้อกองทุน SSF ไป 200,000 ก็จะสามารถนำ SSF ไปลดหย่อนได้เพียง 100,000 เท่านั้น เพราะเมื่อนำไปรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพปีละ 400,000 บาท จะกลายเป็น 500,000 บาท ซึ่งเป็นเพดานพอดีนั่นเอง

   2.9 กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) สามารถนำมาลดหย่อยได้ โดยอิงจากที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท และเมื่อรวมกับข้อ 2.5 กับ RMF แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

จริงๆ แล้วคุณยังสามารถนำยอดการบริจาคและการซื้อที่อยู่อาศัยมาลดหย่อยภาษีเพิ่มเติมได้อีกนะ แต่ที่มาดามไม่ได้ยกมาเพราะเห็นว่าค่อนข้างเป็นเรื่องเฉพาะกลุ่มนั่นเอง ถ้าใครสนใจสามารถคลิ้ก ที่นี่ เพื่อไปอ่านกันต่อได้เลย

2. เข้าร่วมช้อปดีมีคืน

นี่คือไฮไลท์ของปีนี้เลยก็ว่าได้ เพราะรัฐบาลได้ออกนโยบายนี้มาเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ประชาชนได้ออกไปจับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้นนั่นเอง โดยการเข้าร่วมโครงการนี้ก็ง่ายมากๆ เพียงช้อปให้ครบสามหมื่นคุณก็มีสิทธิได้คืนภาษีแล้วล่ะ ซึ่งเรื่องราวของช้อปดีมีคืนนั้น สามารถไปอ่านรายละเอียดทาง Central Inspirer ได้เลย เรามีเสิร์ฟไว้ให้คุณพร้อมแล้ว ทั้งข้อมูลของโครงการและสินค้าน่าช้อป สามารถคลิ้กที่ชื่อคอนเทนต์แล้วไปส่องกันได้เลย

.

ช้อปดีมีคืน ช้อปอะไรดี 30,000 บาท ที่ CENTRAL APP

 .

เพียงทำทั้งสองอย่างนี้คุณจะลดหย่อนภาษีได้อย่างคุ้มค่าแล้วล่ะ มาดามแนะนำว่าในแต่ละปีให้คุณเก็บบิลหรือบันทึกยอดใหญ่ๆ เอาไว้เสมอนะ พอถึงเวลายื่นภาษีแล้วจะได้เป็นเรื่องง่าย ไม่ต้องมาตามขุดกันให้เหนื่อย

วิธีการคำนวณภาษี

ทีนี้เรามาถึงคิวของวิธีคำนวณภาษีกันแล้ว เพราะมาดามเชื่อว่าหลายๆ คนคงอยากทราบกันแล้ว โดยเฉพาะกับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มก้าวเข้ามาในวงการภาษี โดยการคำนวณภาษีนั้นอาจจะยุ่งยากสักเล็กน้อย แต่วิธีการนั้นไม่ได้ยากอย่างที่คุณคิด โดยเราจะต้องเริ่มจากการหารายได้สุทธิของเราก่อน โดยมีสูตร ดังนี้

.

เงินได้ (ต่อปี) – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = รายได้สุทธิ

.

ดังนั้น เราต้องมาสำรวจตัวเองก่อนว่าเรามีตัวเลขเหล่านี้เท่าไหร่บ้าง

ตัวอย่าง

  • เงินได้ปีละ 420,000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายแบบเหมา 120,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท
  • ค่าประกันสังคม 9,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพของบิดา 8,000 บาท

ดังนั้นเมื่อนำมาเข้าสูตรข้างต้นจะได้ ดังนี้

.

420,000 (เงินได้) – 120,000 (ค่าใช้จ่าย) – 60,000 – 60,000 – 9,000 – 8,000 (ค่าลดหย่อน) = รายได้สุทธิ 163,000 บาท

.

 เมื่อได้รายได้สุทธิแล้ว ก็จะต้องนำมาเทียบขั้นบันไดก็จะได้ค่าภาษีที่จะต้องจ่าย ดังนี้

  • เงินได้สุทธิ 0 – 150,000 บาท อยู่ในขั้นปลอดภาษี
  • เงินได้สุทธิเกิน 150,000 – 300,000 บาท เสียภาษี 5%
  • เงินได้สุทธิเกิน 300,000 – 500,000 บาท เสียภาษี 10%
  • เงินได้สุทธิเกิน 500,000 – 750,000 บาท เสียภาษี 15%
  • เงินได้สุทธิเกิน 750,000 – 1,000,000 บาท เสียภาษี 20%
  • เงินได้สุทธิเกิน 1,000,000 – 2,000,000 บาท เสียภาษี 25%
  • เงินได้สุทธิเกิน 2,000,000 – 5,000,000 บาท เสียภาษี 30%
  • เงินได้สุทธิเกิน 5,000,000 บาทขึ้นไป เสียภาษี 35%

จากนั้นเมื่อเราเทียบขั้นบันไดเสร็จแล้ว เราจะต้องนำมาเข้าสูตรอีกหนึ่งรอบ ดังนี้

.

(เงินได้สุทธิ – ขั้นต่ำของขั้นบันได) x เปอร์เซ็นต์ของแต่ละขั้นบันได = ภาษีที่ต้องชำระ

.

จากตัวอย่างมีเงินได้สุทธิทั้งหมด 163,000 บาท จึงตรงกับขั้นบันไดสอง เมื่อนำมาเข้าสูตรจะได้ ดังนี้

 

(163,000 (เงินได้สุทธิ) – 150,000 (ขั้นต่ำของขั้นบันได)) x 5% (เปอร์เซ็นต์ของบันได) = 650 บาท (ภาษีที่ต้องจ่าย)

 

เพียงเท่านี้คุณก็จะสามารถรู้ได้แล้วว่าในปีนี้คุณจะต้องเสียภาษีทั้งหมดเท่าไหร่

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก: finnomena และ itax

นี่คือเรื่องราวดีๆ ที่มาดามนำมาฝากคุณในครั้งนี้ หวังว่าในปีนี้คุณจะสามารถทำเรื่องลดหย่อนภาษีได้คุ้มค่าที่สุดและไม่ตกหล่นเรื่องใดๆ ไป สำหรับใครที่อยากไปช้อปปิ้งกันต่อ สามารถไปช้อปกันต่อได้เลยที่ Central Online แหล่งรวมสินค้าพรีเมี่ยม ที่มีให้คุณเลือกอย่างหลากหลาย