เย็นสบาย ในบ้านสมัยใหม่

เจ้าของ – ตกแต่ง : ผ.ศ. ฐิติวุฒิ ชัยสวัสดิ์อารี

   ร่มเงาไม้ใหญ่ภายในสวนดูสดชื่นขึ้นทันทีเมื่อเม็ดฝนโปรยสายลงมาดับความร้อนระอุของวันลง นั่นพลอยทำให้บรรยากาศรอบๆ บ้าน สไตล์โมเดิร์นรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาด 2 ชั้นหลังนี้เย็นสบายขึ้นตามไปด้วย

%e0%b8%aa%e0%b9%84%e0%b8%95%e0%b8%a5%e0%b9%8c%e0%b9%82%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b9%88

%e0%b9%80%e0%b8%9f%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%b2

หน้าซ้าย:
1. ส่วนใช้งานที่เปิดโปร่งของชั้นล่างแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์เก่า ด้านในสุดกั้นเป็นพื้นที่ครัวซึ่งอยู่ในทิศที่โดนแดดมากที่สุด
2. โครงสร้างหลักของบ้านเป็นเหล็ก และหันด้านข้างไปทางทิศเหนือ และใต้เพื่อรับลมเต็มที่

หน้าขวา:
1. พื้นที่สวนสีเขียวโดยรอบช่วยกรองแสงและทำให้บ้านเย็นสบายขึ้น

%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%81
%e0%b8%a1%e0%b8%b8%e0%b8%a1%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%9c%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99
 

เพราะแนวคิดการสร้างบ้านหลังนี้เน้นให้อยู่อย่างกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมได้จริง จากการวางตำแหน่งของบ้านให้เหมาะสมกับทิศทางแสงและลมในธรรมชาติ เพื่อสร้างภาวะน่าสบาย พร้อมใช้ประโยชน์จากต้นไม้ใหญ่ช่วยกรองแสงและลดความร้อนที่จะเข้าสู่พื้นที่พักผ่อนภายในบ้าน
   โดยความตั้งใจแรกเริ่มนั้นมาจากคุณพ่อคุณแม่ของ ผ.ศ. ฐิติวุฒิ ชัยสวัสดิ์อารี อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านหลังนี้ ต้องการให้ปรับปรุงพื้นที่อาคารเก็บของด้านหลังบ้านใหญ่เพื่อให้เป็นพื้นที่พักผ่อน พร้อมกับมีห้องสำหรับรับรองแขกหรือญาติมาพักค้างคืนได้
   แต่หลังจากปรับปรุงแล้ว ทำให้มีวัสดุที่ถอดรื้อและไม่ได้ใช้บางส่วน เช่น ประตูหน้าต่าง เหล็กดัด รวมถึงวัสดุก่อสร้างประเภทแผ่นพื้นปูทางเท้า อิฐช่องลม กระเบื้องเคลือบ สีทาอาคาร เหล็กรูปพรรณ ไปจนถึงบันไดเวียน ประตู รั้วลูกกรงเหล็ก และวัสดุสำคัญที่สุดคือไม้หนา 20 นิ้ว ยาว 5 เมตร จำนวน 21 แผ่นซึ่งเคยซื้อมาเก็บไว้ร่วม 8 ปี

%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%95%e0%b8%b9%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%b2

“ผมเลือกใช้เหล็กเป็นโครงสร้างหลักของบ้าน เพื่อการก่อสร้างที่รวดเร็วและเป็นวิธีการก่อสร้างแบบแห้ง โดยสร้างขึ้นบนรากฐานของห้องเก็บของเก่าขนาด 5 x 6 เมตร เสาบ้านจึงต้องอยู่ตำแหน่งเดิมของเสาห้องเก็บของเก่า ซึ่งรากฐานเป็นเข็มสั้นจึงรับนำหนักได้น้อย ผมเลยเลือกใช้เหล็ก กระจก และหลังคาเหล็กชุบสังกะสี เป็นวัสดุก่อสร้างหลักเพราะมีนำหนักเบา”
   ผนังด้านหนึ่งของบ้านทำจากประตูเหล็กเก่า ที่เหลือจากบ้านคุณพ่อคุณแม่ ส่วนผนังอีกด้านก็ใช้หน้าต่างและประตูเก่าที่มีอยู่ ขณะที่หน้าบ้านตั้งใจเปิดให้โปร่งเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ธรรมชาติสีเขียวของสวน เข้ามาสร้างความผ่อนคลายภายใน รวมถึงใช้ลักษณะแบบใต้ถุนบ้านไทยที่เปิดโล่ง พร้อมจัดวางมุมนั่งเล่นรับลมสบายแบบไทยๆ ด้วยรูปลักษณ์ของบ้านกล่องที่โมเดิร์นทันสมัย

 

 “ผมนั่งมองวัสดุที่เหลือใช้ทั้งหมด รวมถึงไม้เก่าจากสุพรรณบุรีที่มีอยู่นี้ แล้วก็คิดว่าจะสร้างบ้านหลังนี้ขึ้นมาโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ทั้งหมดนี้แหละ และจะไม่ตัดไม้เก่าที่มีคุณภาพดีทั้งหมดนี้” ทุกอย่างจึงเริ่มต้นจากไม้เก่าทั้ง 21 แผ่น ซึ่งแบ่งมาใช้เป็นพื้นสำหรับพื้นที่ชั้นล่างและชั้นบนของบ้าน อย่างละ 10 แผ่น ที่เหลืออีกแผ่นนั้นต่อเติมให้เป็นม้านั่งยาวบริเวณชั้นล่างของบ้าน

1. ไม้เก่าจากสุพรรณนอกจากเป็นส่วนพื้นของบ้านแล้วยังปรับใช้เป็นม้านั่งยาวบนโครงเหล็กด้วย
2. ผนังที่ทำจากประตูเหล็กเก่ากลายเป็นช่องโปร่งรับลมเข้าสู่ภายใน
3. อิฐบล็อกเก่าที่นำมาเรียงเป็นผนังใหม่ด้านหลังบ้าน พร้อมเติมต้นไม้เพื่อความรื่นรมย์

%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%90%e0%b8%9a%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%ad%e0%b8%81

%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%99

ตำแหน่งพื้นที่หลังบ้าน จัดให้เป็นมุมของห้องครัว โดยนำบล็อกช่องลมเก่าที่เหลือจากงานก่อสร้าง มากลับหัวต่อเติมเป็นผนังเพื่อให้เกิดมุมมองใหม่ที่แตกต่าง และจัดมุมห้องนำไว้ชั้นบนของหลังบ้าน เพราะบริเวณนี้เป็นด้านที่โดนแสงแดดทางทิศตะวันตกจึงร้อนที่สุด ผ.ศ. ฐิติวุฒิ จึงตั้งใจเลือกสองมุมนี้ไว้ เนื่องจากไม่ใช่พื้นที่สำหรับพักผ่อนอีกทั้งแดดยังช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ไปในตัว

   ส่วนทิศเหนือและทิศตะวันออกนั้นเป็นตำแหน่งของห้องนั่งเล่นที่เปิดช่องแสงเพื่อรับธรรมชาติอย่างเต็มที่ โดยชั้นบนของบ้าน ใช้เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวเป็นส่วนกำหนดฟังก์ชันใช้งานที่แตกต่างระหว่างโซฟานั่งเล่น เตียงนอน และโต๊ะอ่านหนังสือ โดยไม่มีการกั้นผนังทึบแยก นอกจากเพื่อเปิดมุมมองให้โปร่งสบายถึงธรรมชาติรอบตัวผ่านผนังกระจกใสแล้ว ยังช่วยให้พื้นที่ของห้องดูกว้างกว่า

%e0%b9%82%e0%b8%95%e0%b9%8a%e0%b8%b0%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99
%e0%b9%82%e0%b8%8b%e0%b8%9f%e0%b8%b2

1. ส่วนของห้องนอนที่กำหนดไว้ด้วยเฟอร์นิเจอร์ โดยไม่มีการกั้นห้องปิดทึบ ด้านในเป็นห้องนำที่ช่วยรับแสงแดดได้ดี
2. โต๊ะทำงานใกล้กับเตียงนอนหันออกสู่ผนังกระจกเพื่อสามารถชมสวนได้สบาย
3. พื้นชั้นบนปูด้วยไม้เก่าแผ่นใหญ่ ทั้งหมด 10 แผ่น แล้วจัดวางเฟอร์นิเจอร์ใช้สอย ท่ามกลางผนังห้องที่เปิดโปร่ง
4. สีส้มต่อเนื่องมาจากผนังด้านนอกมาสู่ห้องนำด้านใน และตัดกับสีขาวของสุขภัณฑ์ได้อย่างโดดเด่นสะดุดตา

 

 

%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%87

 “เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในบ้านก็เป็นของเก่าที่มีอยู่ หรือเป็นของที่เหลือจากงานตกแต่งโปรเจกต์อื่นที่ผมทำและบางชิ้นเจ้าของบ้านที่ผมไปออกแบบก็ให้มา อย่างบันไดเหล็กวนด้านหลัง แล้วก็มีเฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบจากของเหลือใช้ในโครงการ Scrap Lab ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาผสมผสานด้วย”

%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%94

 ในวันที่อากาศร้อนอบอ้าว บ้านหลังนี้ก็จำเป็นต้องพึ่งพาเครื่องปรับอากาศอยู่บ้าง แต่ด้วยความใส่ใจตั้งแต่การจัดวางผังอาคาร การระบายอากาศ การป้องกันแดดและฝน และการเลือกใช้วัสดุที่ไม่สะสมความร้อน ทั้งหมดนี้ก็ช่วยให้บ้านคลายความร้อนได้เร็ว และมีความสบายมากขึ้น ภายใต้รูปทรงบ้านกล่องที่เข้ายุคเข้าสมัย แต่ไม่อมความร้อนหรือขัดแย้งกับสภาพอากาศแบบร้อนชื้นของเมืองไทยเลย 

1. การเปิดพื้นที่ชั้นล่างให้โล่งเหมือนใต้ถุนบ้านไทยเพื่อดึงธรรมชาติเข้ามาอยู่ภายใน
2. บันไดเวียนที่มีคนให้มาก็สามารถนำมาประกอบเป็นทางขึ้นบ้าน โดยมีผนังอิฐบล็อกสร้างความปลอดโปร่ง

Credit

Story: Finn
Photo: Earthday
CENTRAL PREMIERE – ISSUE 171